Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66232
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorวรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุลen_US
dc.contributor.authorธานี แก้วธรรมานุกูลen_US
dc.contributor.authorอนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์en_US
dc.contributor.authorวิไลพรรณ ใจวิไลen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2562), 5-7en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/180620/128193en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66232-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractบริบทการทำงานเป็นหนึ่งปัจจัยกำหนดสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญส่งผลต่อสุขภาพคนทำงาน การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของ กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 339 ราย เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.99 และความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (0.80-0.94) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพ คือ อากาศร้อน (ร้อยละ 99.7) และแสงจ้ามากเกินไป (ร้อยละ 96.2) ปัจจัยด้านเคมี คือ ฝุ่นข้าวโพด (ร้อยละ 96.2) และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ร้อยละ 87.6) ปัจจัยด้านการยศาสตร์ ได้แก่ ท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม ทำงานในลักษณะซ้ำ ๆ และนั่งหรือยืนทำงานนาน (ร้อยละ95.0-98.2) ปัจจัยด้านจิตสังคมเกี่ยวกับรายได้ไม่แน่นอน (ร้อยละ 91.2) สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เป็นการทำงานกับเครื่องมือ/อุปกรณ์ของมีคม (ร้อยละ 99.4) การเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากงานที่สำคัญ คือ อาการปวดระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 80.2) และความเครียดจากรายได้ไม่แน่นอน (ร้อยละ 76.7) การบาดเจ็บจากงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบเพียงร้อยละ 11.2 เป็นการบาดเจ็บไม่รุนแรง สาเหตุจากเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่มีคมตัดบาดทิ่มแทง (ร้อยละ 48.5) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ทีมอาชีวอนามัยควรให้ความสำคัญต่อการสื่อสารความเสี่ยงจากการทำงานและผลลัพธ์ทางสุขภาพ ตลอดจนพัฒนาระบบบริการด้านอาชีวอนามัย การเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ทั้งพัฒนากลยุทธจัดการปัญหาสุขภาพของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ และความเครียดจากงาน เพื่อเพิ่มผลผลิตการทำงาน และคุณภาพชีวิตการทำงาน ในกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพดen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานen_US
dc.subjectการเจ็บป่วยและบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากงานen_US
dc.titleสถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวโพดen_US
dc.title.alternativeOccupational and Environmental Health Situations among Corn Farmersen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.