Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66228
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมนตรี พรมท่อนen_US
dc.contributor.authorสุภารัตน์ วังศรีคูณen_US
dc.contributor.authorอัจฉรา สุคนธสรรพ์en_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:24Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 46, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2562), 65-75en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/180690/128252en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66228-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการพัฒนาทักษะพยาบาลในการคัดแยกมีความจำเป็นต่อการให้บริการที่ปลอดภัยแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนาทักษะในการคัดแยกของพยาบาล การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ 1 กลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (one group pretest-posttest design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการคัดแยกผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉินต่อความถูกต้องในการคัดแยกของพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การดำเนินการวิจัย ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการคัดแยกผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉินโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน ซึ่งพัฒนาโดยผู้วิจัย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และผ่านการทดสอบประสิทธิภาพบทเรียนโดยได้ค่า E1/E2 เท่ากับ 82.85/81.00 เครื่องมือที่ใช้ใน การรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบรวบรวมผลลัพธ์การคัดแยกที่พัฒนาโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคว์สแคว ผลการวิจัยพบว่า ความถูกต้องในการคัดแยกของพยาบาลหลังเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (ร้อยละ 85.91) มีมากกว่าความถูกต้องในการคัดแยกของพยาบาลก่อนเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (ร้อยละ 45.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถใช้ในการพัฒนาทักษะพยาบาลในการคัดแยกผู้ป่วย หน่วยตรวจฉุกเฉินหรือโรงพยาบาลสามารถนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปประยุกต์ใช้เป็นวิธีการหนึ่งในการอบรมพยาบาลเรื่องการคัดแยกผู้ป่วยต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการคัดแยกผู้ป่วยen_US
dc.subjectแผนกฉุกเฉินen_US
dc.subjectคอมพิวเตอร์ช่วยสอนen_US
dc.subjectดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินen_US
dc.titleผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการคัดแยกผู้ป่วยที่แผนกฉุกเฉิน ต่อความถูกต้องในการคัดแยกของพยาบาลen_US
dc.title.alternativeEffect of Using Computer Assisted Instruction for Emergency Department Triage on Nurses’ Triage Accuracyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.