Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66222
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิชยา เห็นแก้ว | en_US |
dc.contributor.author | เทียมศร ทองสวัสดิ์ | en_US |
dc.contributor.author | ไพฑูรย์ ยศกาศ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T09:18:24Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T09:18:24Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 45, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561), 171-180 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162685/117469 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66222 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การกดหน้าอกเป็นทักษะปฏิบัติทางวิชาชีพที่สำคัญสำหรับนักศึกษาพยาบาล วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหุ่นต้นแบบดีต่อใจ เพื่อฝึกการกดหน้าอกและศึกษาความพึงพอใจการใช้นวัตกรรมของนักศึกษาพยาบาล โดยแบ่งกระบวนการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนานวัตกรรมตามแนวทางการกดหน้าอกและการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดในภาวะฉุกเฉินของสมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจประสบการณ์และความต้องการการใช้หุ่นช่วยฝึกการกดหน้าอกของนักศึกษาพยาบาล 2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฏี เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 3) สร้างหุ่นต้นแบบ ดีต่อใจ 4) ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5) ทดลองใช้ 6) ปรับปรุงหุ่นต้นแบบ ดีต่อใจ ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อนวัตกรรมหุ่นต้นแบบ ดีต่อใจ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 ราย ผลการศึกษาพบว่า หุ่นต้นแบบ ดีต่อใจ เพื่อฝึกการกดหน้าอกมีลักษณะเป็นหุ่นผ้าหุ้มยางพาราภายในมีลวดสปริงและแผ่นวงจรรับน้ำหนักอิเล็กทรอนิกส์ต่อพ่วงกับจอแสดงผล และเมื่อนำไปทดลองใช้พบว่านักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีคะแนนความพึงพอใจต่อนวัตกรรมนี้ในระดับมากและมากที่สุด สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาได้นวัตกรรมที่มีประโยชน์ในการฝึกการกดหน้าอกได้จริง และหากมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นจะสามารถต่อยอดเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ได้ | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | หุ่นฝึกกดหน้าอก | en_US |
dc.subject | การพัฒนานวัตกรรม | en_US |
dc.title | การพัฒนาหุ่นต้นแบบ ดีต่อใจ เพื่อฝึกการกดหน้าอกสำหรับนักศึกษาพยาบาล | en_US |
dc.title.alternative | Development of DeeTorJai Model for Chest Compression Training among Nursing Students | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.