Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66216
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชนาธิป หาหลัก | en_US |
dc.contributor.author | นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล | en_US |
dc.contributor.author | จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T09:18:24Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T09:18:24Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 45, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561), 121-131 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162665/117444 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66216 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การเฝ้าระวังการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด ช่วยให้ทราบสถานการณ์และแนวโน้มของการติดเชื้อตำแหน่งที่ผ่าตัด นำไปสู่การป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ และช่วยลดอุบัติการณ์การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติในการเฝ้าระวังการ ติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลรัฐ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อหรือบุคลากรหลัก ที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดในโรงพยาบาลรัฐ 99 แห่ง ได้รับแบบสอบถามกลับคืน ร้อยละ 80.49 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประกอบไปด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปของโรงพยาบาล การปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด และปัจจัย ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 72.73 ของโรงพยาบาลรัฐมีการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด โดยพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย วินิจฉัยการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดโดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคประเทศสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 68.69 ผู้วินิจฉัยการติดเชื้อ คือศัลยแพทย์เจ้าของไข้ ร้อยละ 61.62 วิเคราะห์ข้อมูลการติดเชื้อทุกเดือน ร้อยละ 73.74 โดยบันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 51.52 มีการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดหลังจำหน่าย ร้อยละ 83.84 และมีการประเมินประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด ร้อยละ 24.24 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด พบว่า 1) ด้านโครงสร้าง มีพยาบาลควบคุมการติดเชื้อปฏิบัติงานเต็มเวลา ร้อยละ 71.72 2) ด้านกระบวนการ มีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดให้กับบุคลากรใหม่ ร้อยละ 73.74 และมีการจัดอบรมฟื้นฟูความรู้ให้กับบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง ร้อยละ 84.85 3) ด้านผลลัพธ์ พยาบาลส่วนใหญ่เห็นว่าการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด ทำให้มีผลต่อระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด ร้อยละ 61.62 และต้องการการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน ร้อยละ 88.89 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า โรงพยาบาลรัฐมีการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดที่แตกต่างกัน ควรมีการดำเนินการวางแผนและพัฒนาการปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดในโรงพยาบาลรัฐ เพื่อให้การเฝ้าระวังการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดในโรงพยาบาลรัฐในประเทศไทยให้มีมาตรฐานเดียวกัน | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การปฏิบัติ | en_US |
dc.subject | การเฝ้าระวัง | en_US |
dc.subject | การติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัด | en_US |
dc.subject | ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลรัฐ | en_US |
dc.title | การปฏิบัติในการเฝ้าระวังและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดในโรงพยาบาลรัฐ | en_US |
dc.title.alternative | Surveillance Practices and Related Factors of Surgical Site Infection in Government Hospitals | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.