Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66208
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | จิราภรณ์ นันท์ชัย | en_US |
dc.contributor.author | สมชาย แสงนวล | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T09:18:24Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T09:18:24Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 45, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561), 37-46 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162592/117372 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66208 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การฝึกทักษะตรวจครรภ์และการทำคลอดของนักศึกษาพยาบาล ต้องการความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับท่าทารกในครรภ์ ซึ่งหุ่นจำลองที่ใช้เป็นสื่อในปัจจุบันยังไม่สามารถหมุนท่าทารกในครรภ์ได้สะดวกและส่วนของทารกอาจอยู่ไม่ตรงตามตำแหน่งที่ควรจะเป็น การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาหุ่นจำลองสำหรับฝึกทักษะการประเมินท่าทารกในครรภ์ ประเมินคุณภาพและประสิทธิผลของหุ่นจำลอง ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การออกแบบและพัฒนาหุ่นจำลอง ส่วนที่ 2 ประเมินคุณภาพหุ่นจำลอง และส่วนที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของหุ่นจำลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 ภาคการศึกษาฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560 คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้วิธีการจับฉลากแบบไม่คืนที่ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพหุ่นจำลอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.87 และแบบประเมินทักษะการประเมินท่าทารกในครรภ์ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินโดยใช้สูตรเคอาร์ 20 ได้เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนทักษะการประเมินท่าทารกในครรภ์ก่อนและหลังการฝึกด้วยหุ่นจำลองโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้หุ่นจำลอง ประกอบด้วย 2 ชิ้น คือ ชิ้นที่ 1 หุ่นจำลองเชิงกรานและทารกที่ติดตั้งอยู่กับฐานเหล็ก โดยหุ่นจำลองเชิงกรานสร้างจากกระดาษที่ใช้แล้วตามขนาดของเชิงกราน และหุ่นจำลองทารกที่ติดตั้งเฟืองหมุนไว้ สามารถหมุนท่าทารกในครรภ์ได้ทั้งด้านซ้ายและขวา และชิ้นที่ 2 QR code วีดิทัศน์ที่อธิบายท่าทารกในครรภ์ที่มีศีรษะเป็นส่วนนำ 2) คุณภาพหุ่นจำลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78, S.D. = 0.42) และ 3) คะแนนทักษะการประเมินท่าทารกในครรภ์ ภายหลังการฝึกด้วยหุ่นจำลองสูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 18.20, p < 0.001) ผลจากการวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์แก่นักศึกษาพยาบาลในการฝึกประเมินท่าทารกในครรภ์ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติหน่วยฝากครรภ์ และหน่วยคลอด และเหมาะสมสำหรับการทบทวนด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมให้เกิดทักษะในการประเมินท่าทารกในครรภ์ต่อไป | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การพัฒนาหุ่นจำลอง | en_US |
dc.subject | การฝึกประเมินท่าทารกในครรภ์ | en_US |
dc.title | การพัฒนาหุ่นจำลองสำหรับฝึกทักษะการประเมินท่าทารกในครรภ์ | en_US |
dc.title.alternative | Developing simulation model for fetal position assessment training skill | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.