Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66205
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกัลยาลักษณ์ ไชยศิริen_US
dc.contributor.authorประนอม รอดคำดีen_US
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ ตรีนัยen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561), 1-13en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162508/117342en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66205-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมการตอบสนอง เนื่องจากระบบประสาทที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ และการขาดการกระตุ้นการสัมผัสจากมารดาที่ต่อเนื่อง การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษาสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกันวัดแบบอนุกรมเวลา เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างพฤติกรรมการตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในมารดาครรภ์แรก ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมารดาร่วมกับ การสัมผัสแบบอ่อนโยนและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคือ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยที่เกิดจากมารดาครรภ์แรกที่ได้รับการรักษาในแผนกทารกแรกเกิดมีปัญหา โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินพลังอำนาจของมารดา และแบบประเมินพฤติกรรมการตอบสนองทารก ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-Way Repeated Measure ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1. พฤติกรรมการหลับตื่นของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมกลุ่ม Quit sleep, Drowsy, Awake alert, Active awake และ Crying แต่ไม่พบความแตกต่างในพฤติกรรมกลุ่ม Active sleep อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมกลุ่ม Behavioral distress cues, No movement และ Smiles แต่ไม่พบความแตกต่างในพฤติกรรมกลุ่ม Motor Activity อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยen_US
dc.subjectพฤติกรรมตอบสนองของทารกแรกเกิดen_US
dc.subjectโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยนen_US
dc.subjectการพยาบาลแบบปกติen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมารดาร่วมกับการสัมผัสแบบอ่อนโยนต่อพฤติกรรมตอบสนองของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยen_US
dc.title.alternativeThe Effect of Maternal Empowerment Program Combined with a Gentletouch on Behavior Response of Low Birth Weight Newbornen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.