Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66204
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอัจฉราพร ศรีโคตรen_US
dc.contributor.authorอุษณีย์ จินตะเวชen_US
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ มีสุขโขen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561), 14-25en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162574/117361en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66204-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ถูกต้อง จะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และได้รับการผ่าตัดรักษาตามแผน การวิจัยนี้เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และ 2) ศึกษาอำนาจการทำนายของความรู้ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลของเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีอายุตั้งแต่ 1 เดือนถึง 5 ปี จำนวน 135 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดที่มีเลือดไปปอดมาก และยังไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดที่มาติดตามการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์หัวใจและโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 2) แบบประเมินความรู้ และ 3) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดที่ผู้วิจัยนำมาจากแบบสอบถามของศุภมาส สร้อยเพชร และอุษณีย์ จินตะเวช (2557) 4) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรค และ 5) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม มีค่าดัชนีความตรงเนื้อหาเท่ากับ .85 และ .81 ตามลำดับ เครื่องมือทั้งหมดมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 .83 .82 .81 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลมีพฤติกรรมการดูแลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอยู่ในระดับมาก (`X = 81.23, SD = 8.81) ความรู้ การรับรู้ความรุนแรงของโรค และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ร้อยละ 17.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยพบว่าการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ดีที่สุด (b=.234, p< .05) รองลงมาคือ ความรู้ และการรับรู้ความรุนแรงของโรค (b=.196, p< .05; b =.185, p< .05) ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และเป็นแนวทางในการสร้างโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความรู้ และการรับรู้ความรุนแรงของโรคของผู้ดูแลen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectพฤติกรรมการดูแลการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจen_US
dc.subjectเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดen_US
dc.subjectปัจจัยทำนายen_US
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลเพื่อการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ ในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Care Behaviors of Caregivers to Preventing Respiratory Tract Infection in Children with Congenital Heart Diseaseen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.