Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66186
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อัชฌา วารีย์ | en_US |
dc.contributor.author | นงลักษณ วุฒิปรีชา | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T09:18:23Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T09:18:23Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 45, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561), 64-75 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-0078 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/145078/107213 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66186 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพร และเปรียบเทียบความรู้ และพฤติกรรมก่อนและหลังการพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุบ้านท่าข้าม ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 40 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสัมภาษณ์ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพร 3) แบบวัดพฤติกรรมในการดูแลตนเองด้วยสมุนไพร และ 4) คำถามในการสนทนากลุ่ม มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .98 และความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .83 เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือน มิ.ย ถึง พ.ย 2560 โดยแบ่งกระบวนการพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพรเป็น 3 ระยะได้แก่ 1) ระยะก่อนการพัฒนา 2) ระยะการพัฒนา และ 3) ระยะหลังการพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระยะก่อนการพัฒนา มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องรวม 4 ด้านคือ (1) ด้านผู้สูงอายุ (2) ด้านกระบวนการ (3) ด้านโครงสร้างกายภาพของชุมชน และ (4) ด้านผู้ให้บริการ 2) ระยะการพัฒนา ได้คู่มือการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพร และโปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพร ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมสมุนไพรใกล้ตัว กิจกรรมสมุนไพรน่ารู้ กิจกรรมสมุนไพร น่ากิน น่าใช้ กิจกรรมสมุนไพรเฉพาะกลุ่มโรค กิจกรรมสมุนไพรน่าปลูก และกิจกรรมเรื่องบอกเล่าสมุนไพร และ 3) ระยะหลังการพัฒนา พบว่า ความรู้และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ ก่อนและหลังการพัฒนาแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การพัฒนาศักยภาพ | en_US |
dc.subject | การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | สมุนไพร | en_US |
dc.subject | กรอบแนวคิดการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงตรรกะของแจ็คสัน | en_US |
dc.title | การพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพตนเองด้วยสมุนไพรในผู้สูงอายุบ้านท่าข้าม ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Enhancing Self-care of Elderly by Using Herbs at Ban Tha Kam, Mae Hia, Muang, Chiang Mai Province | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.