Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66184
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดานิล วงศ์ษาen_US
dc.contributor.authorประทุม สร้อยวงค์en_US
dc.contributor.authorจินดารัตน์ ชัยอาจen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:23Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561), 40-50en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/145044/107206en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66184-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เกิดจากการขาดปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองทันที โดยมีสาเหตุจากการแตก ตีบ หรือ ตันของหลอดเลือด การเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองส่งผลกระทบต่อผู้ที่เป็นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ อันจะส่งผลทำให้ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองมีคุณภาพชีวิตลดลงได้ การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบติดตามไปข้างหน้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองหลังได้รับการวินิจฉัย 6 เดือนแรกและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในระยะก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลกับ 1, 3 และ 6 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 39 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ แบบประเมินคุณภาพชีวิตเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง ฉบับภาษาไทย ซึ่งมีค่าสัมประสิทธอัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในระยะก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ระยะ 1, 3 และ 6 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัย โดยใช้สถิติการทดสอบฟรีดแมน (Friedman test) และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเป็นรายคู่ตามระยะเวลาหลังได้รับการวินิจฉัยโดยใช้สถิติการทดสอบวิลคอกซอน ซายน์ แรงค์ (Wilcoxon signed-rank test) ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมทั้งระยะก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ระยะ 1, 3 และ 6 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัย อยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตโดยรวมทั้ง 4 ระยะคือระยะก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ระยะ 1, 3 และ 6 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเป็นรายคู่ตามระยะเวลาหลังได้รับการวินิจฉัย พบว่า ระยะก่อนจำหน่าย ระยะ 1 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัย ระยะ 3 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัย ต่ำกว่าระยะ 6 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองภายในช่วง 6 เดือนแรกมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิต และศึกษาหาวิธีการทางการพยาบาลที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.titleคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองภายใน 6 เดือนแรกหลังได้รับการวินิจฉัยen_US
dc.title.alternativeQuality of Life Among Stroke Persons Within Six Months Post Diagnosisen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.