Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65992
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิมนตรา ศรีเสนen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:19Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:19Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 31, 1 (ม.ค.-มิ.ย 2562), 144-170en_US
dc.identifier.issn2672-9563en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/182421/139389en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65992-
dc.descriptionวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 มีบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ที่ทำงานร่วมกันทั้งที่มาจากคณาจารย์ในคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์นักวิชาการภายนอก จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านสังคมศาสตร์ของประเทศไทย วารสารสังคมศาสตร์ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ หรืองานวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านมานุษยวิทยา การศึกษาการพัฒนาทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา และสตรีศึกษา ที่มีคุณภาพสู่สังคมวงกว้าง ต่อมาในปี 2561 วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มจัดทำวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)en_US
dc.description.abstractการเคลื่อนย้ายของแรงงานไทยไปทำงานในเกาหลีใต้ได้กลายเป็นประเด็นอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ อันเป็นผลจากจำนวนของแรงงานผิดกฎหมายที่เพิ่มสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อสังคมในประเทศปลายทาง ในด้านหนึ่ง แม้ว่าทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ใช้มาตรการที่หลากหลายเพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น แต่จำนวนของผู้เข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายก็ยังคงไม่มีทีท่าว่าจะลดลงแต่อย่างใด ในอีกด้านหนึ่ง รูปแบบของการเคลื่อนย้ายอย่างผิดกฎหมายได้มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้เป็นผลที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรการทางกฎหมายและโอกาสทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นใหม่ บทความชิ้นนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแรงงานไทยข้ามชาติผิดกฎหมายดังกล่าว ผ่านแนวคิดเรื่องการอพยพแรงงานระหว่างประเทศและแนวคิดการเคลื่อนย้าย เพื่อทำความเข้าใจพลวัตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของแรงงานเหล่านั้นต่อกระบวนการและสภาวะของการกระทำที่ผิดกฎหมาย ข้อค้นพบจากการศึกษามาจากการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากแรงงานที่มีประสบการณ์ บริษัทนำเที่ยว เจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมกับการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากการวิจัยพบว่าการเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเดินทางจากแต่เดิมที่อาศัยนายหน้าผิดกฎหมายมาสู่การเดินทางด้วยตนเองโดยมีผู้ให้ความช่วยเหลืออยู่ที่ปลายทาง เมื่อเทียบกับการเคลื่อนย้ายที่ผ่านมา พบว่าแรงงานส่วนใหญ่มีระดับของการศึกษาที่สูงขึ้นและมีอายุน้อยลงโดยเฉพาะกับผู้ที่เพิ่งตัดสินใจเดินทางไปทำงานอย่างผิดกฎหมายเป็นครั้งแรก เดิมที ผู้อพยพที่มีภูมิหลังทางเศรษฐกิจที่ยากลำบากเป็นคนกลุ่มหลักที่แสวงหาโอกาสจากตลาดแรงงานที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาการเคลื่อนย้ายของแรงงานผิดกฎหมายในปัจจุบันพบว่าการอพยพในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นในกลุ่มของครอบครอบครัวชนชั้นกลางที่ไม่มีหนี้สินมากขึ้น แม้ว่ารายได้ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ แต่ปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่น โอกาสทางเศรษฐกิจ การรู้ช่องว่างทางกฎหมายและบทลงโทษที่ไม่รุนแรง รวมทั้งความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ และการมีประสบการณ์การเดินทางไปทั่วโลก ล้วนมีบทบาทอย่างมากต่อการกำหนดรูปแบบการอพยพย้ายถิ่นอย่างผิดกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแรงงานไทยen_US
dc.subjectแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายen_US
dc.subjectเกาหลีใต้en_US
dc.subjectการเคลื่อนย้ายen_US
dc.titleการเคลื่อนย้ายของแรงงานไทยกับสภาวะผิดกฎหมายในเกาหลีใต้en_US
dc.title.alternativeThai migrants’ Mobility and Illegality in South Koreaen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.