Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65966
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เพ็ชรี รูปะวิเชตร์ | en_US |
dc.contributor.author | พลอยไพลิน รูปะวิเชตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T08:45:32Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T08:45:32Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.citation | ศึกษาศาสตร๋สาร 2, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2561), 17-30 | en_US |
dc.identifier.issn | 2586-825X | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/167083/120553 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65966 | - |
dc.description | ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Journal of Education) เป็นวารสารวิชาการระดับชาติ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิมพ์เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานวิจัย นวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่อันเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการด้านศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ในยุคสมัยแห่งการปฏิรูปการเรียนรู้ของนักวิชาการ อาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและกลยุทธ์ด้านการจัดการศึกษาของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือ คือ 1. ผู้สูงอายุที่มาเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุชราบาลวุฒิวิทยาลัย เทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ที่ให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 200 คน 2. ผู้ดำเนินการโรงเรียนผู้สูงอายุ ฯ 3 คน 3. นักวิชาการ นักฝึกอบรม บุคลากรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการสัมภาษณ์ จำนวน 14 คน มีการวิเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย นำเสนอผลวิจัยด้วยค่าสถิติ ร้อยละ และรูปของตารางประกอบการอธิบายและการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่าสภาพการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุเกิดจากความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเชิงดอย โดยผู้สูงอายุมาเรียนด้วยแรงจูงใจของตนเองร้อยละ 73.50 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการฟังธรรมะจากพระสงฆ์ นันทนาการ รักษาสุขภาพ อาชีพ ศิลปวัฒนธรรมระดับมากร้อยละ 89.00, 66.00, 82.50, 72.50, 72.50 ตามลำดับ การจัดการของโรงเรียนระดับมากร้อยละ 97.50 ประโยชน์ที่ได้รับจากการมาเรียนระดับมากร้อยละ 98.50 การจัดกิจกรรมของภาควิชาอาชีวศึกษาและการส่งเสริมสุขภาวะระดับมากร้อยละ 100 ปัญหาในการศึกษาของผู้สูงอายุคือการเดินทางมาเรียนและการนำความรู้ไปปรับใช้ร้อยละ 38.00, 44.50 ความต้องการในการศึกษาของผู้สูงอายุคือหัวข้อเรื่องการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ ร้อยละ 42.00 ส่วนผู้จัดการโรงเรียนผู้สูงอายุฯ มีปัญหาการใช้งบประมาณที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบการใช้จ่าย ปัญหาการเดินทางของผู้สูงอายุและสถานที่เรียน เทศบาลฯ มีความต้องการในการจัดต่อไปและต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งงบประมาณและวิทยากร ส่วนกลยุทธ์ในการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาพฤฒิพลังในผู้สูงอายุพบว่าโรงเรียนผู้สูงอายุฯ ต้องเร่งสร้างผู้สูงอายุให้เป็นผู้นำร่วมในการดำเนินการโรงเรียน สร้างวิทยากรเพิ่ม เพิ่มหลักสูตรวิชาศิลปะ เช่นการวาดรูป การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้จัดการศึกษากันเองกลุ่มเล็ก ๆ ที่ศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | กลยุทธ์การจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | พฤฒิพลังในผู้สูงอายุ | en_US |
dc.title | กลยุทธ์การจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ | en_US |
dc.title.alternative | Strategic of Education Management for the Elderly Towards Developing Active Ageing | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.