Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65947
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพงศ์อำมาตย์ อุเทนสุตen_US
dc.contributor.authorธีรวรรณ ธีระพงษ์en_US
dc.date.accessioned2019-08-21T08:45:32Z-
dc.date.available2019-08-21T08:45:32Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationมนุษยศาสตร์สาร 20, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2562), 240-270en_US
dc.identifier.issn2630-0370en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/186573/131099en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65947-
dc.descriptionมนุษยศาสตร์สาร เป็นวารสารที่ออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคมมนุษยศาสตร์สาร นำเสนอบทความทางวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งมีการจัดทำทั้งรูปแบบตีพิมพ์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 เช่นกันen_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญาต่อความสอดคล้องในตนเองของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัด แบบของการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยมีการทดสอบก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัด ซึ่งเป็นนักศึกษาสาขาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 18 คน นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เข้าร่วมการวิจัยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญา โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 15 ชั่วโมง ต่อเนื่องกัน 2 วัน โดยมีผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญา เพื่อพัฒนาความสอดคล้องในตนเองของนักจิตวิทยา การปรึกษาฝึกหัด และแบบวัดความสอดคล้องในตนเองที่พัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย ซึ่งประเมินโดยบุคคล 2 ฝ่าย ได้แก่ นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดประเมินตนเอง และผู้รับการปรึกษาประเมินนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัด และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพร่วมด้วย โดยนำบันทึกประสบการณ์ของกลุ่มตัวอย่างหลังการดำเนินการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญามาวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการทดสอบค่าทีทั้งกรณีที่กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน และกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน โดยหลังจากที่ได้ข้อมูลการประเมินซึ่งมีความสอดคล้องกันระหว่างนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดกับผู้รับการปรึกษาแล้วจึงนำมาทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญามีความสอดคล้องในตนเองสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญามีความสอดคล้องในตนเองของสูงกว่านักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ไม่ได้เข้าร่วมกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญาen_US
dc.subjectการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มen_US
dc.subjectความสอดคล้องในตนเองen_US
dc.subjectนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดen_US
dc.titleผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดการบำบัดด้วยการยอมรับและพันธสัญญาต่อความสอดคล้องในตนเองของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดen_US
dc.title.alternativeEffect of Acceptance and Commitment Therapy Group Counseling on Congruence of Counselors in Trainingen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.