Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65945
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorภคภต เทียมทันen_US
dc.contributor.authorมิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์en_US
dc.date.accessioned2019-08-21T08:45:32Z-
dc.date.available2019-08-21T08:45:32Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationมนุษยศาสตร์สาร 20, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2562), 86-118en_US
dc.identifier.issn2630-0370en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/186538/131092en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65945-
dc.descriptionมนุษยศาสตร์สาร เป็นวารสารที่ออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคมมนุษยศาสตร์สาร นำเสนอบทความทางวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งมีการจัดทำทั้งรูปแบบตีพิมพ์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 เช่นกันen_US
dc.description.abstractบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านชนิดคำของคำว่า “บน” ในภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781-พ.ศ.1981) จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9 (พ.ศ.2489-พ.ศ.2559) โดยเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลประเภทเอกสารและประเภทคลังข้อมูลหรือฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อพิจารณาข้อมูลคำว่า “บน” จำนวน 2,441 แห่งแล้ว ผลการวิจัยพบว่า คำว่า “บน” สามารถจำแนกชนิดคำได้ 3 ชนิด คือ คำนาม “บน” สามารถปรากฏในลักษณะคำนามเดี่ยวตามลำพังในตำแหน่งด้านหน้าคำกริยาหรือกริยาวลี ด้านหลังคำกริยาหรือกริยาวลี ด้านหลังคำบุพบท รวมถึงในตำแหน่งด้านหน้าสุด ซึ่งเป็นหน่วยหลักของนามวลี มีความหมายแสดงบริเวณพื้นที่ที่สูงกว่าหรือเหนือกว่าระดับอ้างอิงขึ้นไป เริ่มปรากฏตั้งแต่สมัยที่ 1 สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781-พ.ศ.1981) ถึงสมัยที่ 6 สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9 (พ.ศ.2489-พ.ศ.2559) คำคุณศัพท์ “บน” สามารถปรากฏในตำแหน่งด้านหลังคำนามหรือนามวลี ขยายความหมายแสดงบริเวณพื้นที่ที่สูงกว่าหรือเหนือกว่าระดับอ้างอิงขึ้นไปแล้วร่วมกันเป็นหนึ่งนามวลี เริ่มปรากฏตั้งแต่สมัยที่ 1 สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781-พ.ศ.1981) ถึงสมัยที่ 6 สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9 (พ.ศ.2489-พ.ศ.2559) และคำบุพบท “บน” สามารถปรากฏในตำแหน่งระหว่างคำกริยาหรือกริยาวลีกับคำนามหรือนามวลี และระหว่างคำนามหรือนามวลีกับคำนามหรือนามวลี มีความหมายแสดงตำแหน่งความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ของสิ่งกับสิ่ง เริ่มปรากฏตั้งแต่สมัยที่ 2 สมัยอยุธยาและธนบุรี (พ.ศ.1893-พ.ศ.2325) ถึงสมัยที่ 6 สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9 (พ.ศ.2489-พ.ศ.2559) ลักษณะดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์คำหลายหน้าที่และแสดงให้ทราบถึงปรากฏการณ์คำหลายหน้าที่ในภาษาไทย อีกทั้งยังสอดคล้องและแสดงให้ทราบถึงกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ในภาษาไทยอีกด้วย คำว่า “บน” ที่เป็นคำบุพบท ซึ่งเป็นคำไวยากรณ์อาจกลายหรือพัฒนามาจากคำว่า “บน” ที่เป็นคำนามหรือคำคุณศัพท์ ซึ่งเป็นคำหลัก การเปลี่ยนแปลงของคำว่า “บน” มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งสอดคล้องกับการกลายเป็นคำไวยากรณ์ตามลักษณะที่เป็นสากลen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectคำหลายหน้าที่en_US
dc.subjectพัฒนาการด้านชนิดคำen_US
dc.subjectคำแสดงพื้นที่en_US
dc.titleคำว่า “บน” ในภาษาไทย: พัฒนาการด้านชนิดคำen_US
dc.title.alternativeThe Word /bon/ in Thai: The Development of its Word Classesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.