Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65940
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชรินทร์ มั่งคั่ง | en_US |
dc.contributor.author | พัชนี จันทร์ศิริ | en_US |
dc.contributor.author | พิมพา นวลสวรรค์ | en_US |
dc.contributor.author | มุกดาวรรณ สังข์สุข | en_US |
dc.contributor.author | พัชราภรณ์ อนุกูล | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-08-21T08:45:31Z | - |
dc.date.available | 2019-08-21T08:45:31Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.citation | มนุษยศาสตร์สาร 19, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 208-236 | en_US |
dc.identifier.issn | 2630-0370 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/131630/98771 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65940 | - |
dc.description | มนุษยศาสตร์สาร เป็นวารสารที่ออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคมมนุษยศาสตร์สาร นำเสนอบทความทางวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งมีการจัดทำทั้งรูปแบบตีพิมพ์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 เช่นกัน | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทการจัดการเรียนรู้และแนวทางการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนของครูในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลหลักได้จากการเจาะจงครูศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่สูงซึ่งเป็นพื้นที่พัฒนาโครงการหลวงและมีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาที่เข้าไปจัดการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบบันทึกการสนทนากลุ่มโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากผลการวิจัย พบว่า บริบทการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนของครูได้มีการกระบวนจัดการการเรียนรู้เชิงพื้นที่โดยสำรวจและรวบรวมข้อมูลหมู่บ้านเพื่อเป็นองค์ความรู้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนก่อนวัยเรียน และผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ไม่รู้หนังสือ การพัฒนาอาชีพให้กลุ่มผู้สนใจในชุมชน การพัฒนาทักษะชีวิต โดยใช้วิธีการประสานงานกับผู้นำชุมชน การสร้างเครือข่ายในท้องถิ่น การมีส่วนร่วมประชุมกับชุมชน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อให้คนชุมชนได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ในส่วนการใช้องค์ความรู้เชิงพื้นที่ของครูที่นำองค์ความรู้ไปดำเนินการจนเกิดแนวปฏิบัติที่ดีได้แก่ ชุมชนมีแผนพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ชุมชนมีเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเมืองมีจิตสำนึกท้องถิ่น ผลของการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน คือ ชุมชนมีพลังเข้มแข็งในการอนุรักษ์ประเพณี สืบทอดวัฒนธรรมชนเผ่า จัดตั้งกลุ่มสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อการดูแลสุขภาพและอนามัยของชุมชน มีกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สร้างปฏิญญาและข้อบังคับของชุมชนเพื่ออยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างสันติ สำหรับแนวทางการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนของครูศูนย์การเรียนรู้ชุมชนมี 5องค์ประกอบ คือ FPCIL ได้แก่ 1) การอำนวยความสะดวก (facilitator: F) 2) การจัดทำแผนแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม (participatory assessment and planning: P) 3) การเพิ่มคุณค่าทุนชุมชน (community capital value added: C) 4) การสร้างนวัตกรรมชุดความรู้(innovation of knowledge: I) และ 5) การถอดบทเรียน (lesson-learned: L) | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การจัดการความรู้ | en_US |
dc.subject | ศูนย์การเรียนรู้ | en_US |
dc.subject | ครู | en_US |
dc.subject | พื้นที่สูง | en_US |
dc.subject | การพัฒนาอย่างยั่งยืน | en_US |
dc.title | การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนของครูในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา จังหวัดเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Knowledge Management for sustainable development highland Area of Teachers in Mae Fah Laung Learning Center for Hilltribes, Chiang Mai | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.