Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65936
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชลาธิป วสุวัตen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T08:45:31Z-
dc.date.available2019-08-21T08:45:31Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationมนุษยศาสตร์สาร 18, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560), 12-42en_US
dc.identifier.issn2630-0370en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/127719/96258en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65936-
dc.descriptionมนุษยศาสตร์สาร เป็นวารสารที่ออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคมมนุษยศาสตร์สาร นำเสนอบทความทางวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งมีการจัดทำทั้งรูปแบบตีพิมพ์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 เช่นกันen_US
dc.description.abstractบทความวิจัยนี้สำรวจการเดินทางของผู้หญิงชาวฟิลิปปินส์ในการพัฒนาอัตลักษณ์ความเป็นชาติของตนเองในเรื่องสั้นแนวเปรียบเทียบ หรือ อุปมานิทัศน์ เรื่อง “ผู้หญิงที่มีสองสะดือ” เขียนโดย นิค จาวควิน ซึ่งเป็นนักเขียนชาวฟิลิปปินส์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศ เมื่อเรื่องสั้นเรื่องนี้เริ่มต้นขึ้นในช่วงปีแรกๆ ของการสร้างชาติ ตัวละครเอกหญิงทั้งสองถูกนำเสนอในลักษณะของการต่อรองอัตลักษณ์เมสติซา หรือ อัตลักษณ์ลูกผสมของตน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้กับความขัดแย้งหลายประการของประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากที่ประเทศนี้ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของหลากหลายประเทศจ้าวอาณานิคมเป็นระยะเวลายาวนาน นอกจากนี้ จาวควิน ยังได้นำเสนอภาพแทนของตัวละครชายและปฏิสัมพันธ์ของตัวละครเหล่านี้ที่มีต่อตัวละครเอกหญิงเพื่อสะท้อนให้เห็นความล้มเหลวของลัทธิชาตินิยมฟิลิปปินส์ที่นำโดยผู้ชาย บทความนี้ต้องการจะชี้ให้เห็นว่าการใช้สัญลักษณ์ของจาวควินในเรื่องสั้นเรื่องนี้สามารถนำมาวิเคราะห์ภายในบริบทของทฤษฎีสตรีนิยมหลังอาณานิคม ซึ่งจะช่วยเน้นย้ำแนวคิดที่ว่าผู้หญิงเปรียบเสมือนชาติ / แผ่นดินแม่ เรื่องสั้นเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อฝ่ายชายล้มเหลวถึงสองครั้งในการปกป้องประเทศจากการรุกรานของจ้าวอาณานิคม และท้ายที่สุดชายเหล่านั้นต้องหลบหนีออกจากแผ่นดินแม่ จึงถึงเวลาที่ฝ่ายหญิงต้องริเริ่มที่จะทำหน้าที่ปกป้องประเทศแทนชายเหล่านั้น จินตภาพของผู้หญิงที่ถูกบรรยายซ้ำๆ กันตลอดเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการบรรยายภาพของภูเขาที่มีลักษณะเหมือนผู้หญิง หรือ การเล่าเรื่องผู้หญิงที่มีเสน่ห์เย้ายวนใจวิ่งไล่ตามผู้ชายชาวฟิลิปปินส์พลัดถิ่นในเมืองฮ่องกง ล้วนแล้วแต่เป็นการอุปมาอุปไมยถึงประเทศฟิลิปปินส์ เสมือนว่าประเทศนี้เป็น แม่ผู้เศร้าโศก/แผ่นดินแม่ ซึ่งเฝ้ารอคอยการกลับมาของชายหนุ่มฟิลิปปินส์เพื่อกลับมาสร้างชาติ ถึงแม้ว่าการกลับมายังประเทศฟิลิปปินส์ของตัวละครชายจะเป็นไปไม่ได้ในเรื่องสั้นเรื่องนี้ แต่จาวควินชี้แนะว่าลัทธิชาตินิยมของฟิลิปปินส์เป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และจะสามารถประสบความสำเร็จได้ก็เมื่อทั้งผู้ชายและผู้หญิงร่วมมือกันเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะขจัดความแตกแยก และความไม่สมัครสมานสามัคคีกันที่พบได้ทั้งในระดับตนเองและระดับชาติen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectลัทธิชาตินิยมฟิลิปปินส์en_US
dc.subjectนิค จาวควินen_US
dc.subjectผู้หญิง-ชาติen_US
dc.titleความจริงของเมสติซา และความฝันของลัทธิชาตินิยมฟิลิปปินส์ โดย นิค จาวควิน ใน ผู้หญิงที่มีสองสะดือen_US
dc.title.alternativeMestiza Reality and the Dream of Philippine Nationalism in Nick Joaquin’s The Woman Who Had Two Navelsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.