Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65184
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorBongkot Supawongwattanaen_US
dc.contributor.authorThikhamporn Hoonghualen_US
dc.contributor.authorImjai Chitapanaruxen_US
dc.contributor.authorSomsak Wanwilairaten_US
dc.contributor.authorPatrinee Traisathiten_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:44Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:44Z-
dc.date.issued2015en_US
dc.identifier.issn0125-5983en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/87574/69145en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65184-
dc.descriptionChiang Mai Medical Journal (Formerly Chiang Mai Medical Bulletin) is an official journal of the Faculty of Medicine, Chiang Mai University. It accepts original papers on clinical and experimental research that are pertinent in the biomedical sciences. The Journal is published 4 issues/year (i.e., Mar, Jun, Sep, and Dec).en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ การรักษาด้วยเครื่องฉายรังสีภาพนําแบบเกลียวหมุน เป็นเทคโนโลยีที่สามารถกําจัดการต่อ บริเวณที่ฉายรังสี (fi eld junction) ได้ การศึกษานี้เพื่อประเมินการกระจายปริมาณรังสีและความแม่นยําของ การฉายรังสี ในการฉายรังสีทั้งบริเวณสมองและไขสันหลัง (craniospinal axis irradiation: CSI) โดยใช้เครื่อง ฉายรังสีภาพนําแบบเกลียวหมุน เปรียบเทียบการกระจายปริมาณรังสีกับเทคนิคการฉายปรับความเข้ม, รังสี 3 มิติ และรังสี 2 มิติ เครื่องมือและวิธีการศึกษา การศึกษานี้ได้รวบรวมผู้ป่วย 12 ราย ฉายรังสีด้วยเทคนิคภาพนําแบบเกลียวหมุน ภาพจําลองรังสีด้วยคอมพิวเตอร์ (CT simulation) ในผู้ป่วยแต่ละรายจะถูกนําไปวางแผนด้วยเทคนิคอื่น ๆ (รังสีปรับความเข้ม, รังสี 3 มิติ และ 2 มิติ) โดยจะทําการเปรียบเทียบการกระจายตัวและความแม่นยําของลํา รังสีในบริเวณสมอง ไขสันหลัง และบริเวณก่อนเนื้องอกด้วยการประเมินจากค่าความสม่ําเสมอของรังสี (homogeneity index [HI]) และค่าความเข้ารูปของรังสี (conformity index [CI]) นอกจากนี้ยังได้ทําการเปรียบ เทียบรังสีบริเวณไขสันหลังที่วัดเป็นเปอร์เซ็นต์ (percent [%]) ของค่าที่กําหนด และปริมาณรังสีที่กระจายไป ยังร่างกายผู้ป่วยระหว่างสี่เทคนิคด้วย ผลการศึกษา การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วยเครื่องฉายรังสีภาพนําแบบเกลียวหมุนให้รังสีบริเวณสมองที่มีความ สม่ําเสมอและเข้ารูปเมื่อเทียบกับเทคนิคอื่น ค่าเฉลี่ยของความสม่ําเสมอของลํารังสีด้วยรังสีภาพนําแบบ เกลียวหมุนร้อยละ 44.51 (p <0.001) ค่าเฉลี่ยของความเข้ารูปคือ 0.984 (p <0.001) สําหรับรังสีที่ไปยัง บริเวณก้อนเนื้องอกมีผลการศึกษาใกล้เคียงกับบริเวณสมอง ในบริเวณไขสันหลังนั้นพบว่าค่าความสม่ําเสมอ ของรังสีด้วยเทคนิครังสีภาพนําแบบเกลียวหมุนนั้นมีค่าเทียบได้กับเทคนิครังสีปรับความเข้ม ในขณะที่มีความ เข้ารูปมากกว่า (p <0.001) ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณรังสีที่ไปยังบริเวณไขสันหลังคือ ร้อยละ 122.22 นอกจาก นี้พบว่ารังสีภาพนําแบบเกลียวหมุนและรังสี 2 มิติให้ค่าการกระเจิงรังสีไปยังทั่วร่างกายผู้ป่วยเทียบเท่ากัน (p =0.272) มีค่าสูงกว่ารังสี 3 มิติ (p = 0.034) ในขณะที่รังสีปรับความเข้มมีค่ารังสีสูงที่สุด (p <0.05) ผู้ป่วยทั้ง 12 คนสามารถรับการฉายรังสีได้ตามที่กําหนด ทนต่อการฉายรังสีด้วยเทคนิคภาพนําแบบเกลียวหมุนได้ดี ค่า เฉลี่ยของจํานวนวันที่ได้รับรังสี 40 วัน ผลข้างเคียงด้านโลหิตระดับ 3-4 เป็นผลข้างเคียงระยะสั้นเดียวที่ทําให้ เกิดการหยุดฉายรังสีชั่วคราว สรุปผลการศึกษา การรักษาด้วยการฉายรังสีภาพนําแบบเกลียวหมุนสามารถให้ลํารังสีไปยังบริเวณสมอง ไขสันหลัง และบริเวณก้อนเนื้องอกไปพร้อม ๆ กันได้ มีผลข้างเคียงจากการรักษาที่ยอมรับได้และระยะเวลา รวมในการฉายรังสีอยู่ที่ระดับที่น่าพึงพอใจ เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคอื่นแล้ว โดยรวมพบว่า เทคนิคภาพนํา แบบเกลียวหมุนนี้ให้การกระจายตัวของลํารังสีอย่างสม่ําเสมอและเข้ารูปดี ในส่วนของรังสีที่กระเจิงไปยังบริเวณ อื่น ๆ ของร่างกายนั้น พบว่าเทคนิคนี้จะแย่กว่ารังสี 3 มิติ แต่จะดีกว่ารังสีแบบปรับความเข้ม ผลของการกระ เจิงนี้ยังต้องอาศัยการติดตามหลังการรักษาระยะยาวเพื่อประเมินผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้en_US
dc.languageEngen_US
dc.publisherFaculty of Medicine, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleการศึกษาความแม่นยําของการฉายรังสีบริเวณสมองและไขสันหลัง ด้วยเครื่องฉายรังสีภาพ นําแบบเกลียวหมุน เปรียบเทียบกับการฉายปรับความเข้ม รังสี 3 มิติ และการฉายด้วยรังสี 2 มิติen_US
dc.title.alternativeDosimetric comparison of helical tomotherapy (HT) with intensity modulated radiotherapy (IMRT), threedimension conformal radiotherapy (3D-CRT) and conventional two-dimension radiotherapy (2D) for craniospinal axis irradiation (CSI)en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleเชียงใหม่เวชสารen_US
article.volume54en_US
article.stream.affiliationsDepartment of Radiology, Faculty of Medicine, Chiang Mai Universityen_US
article.stream.affiliationsUdon Thani Cancer Hospitalen_US
article.stream.affiliationsDepartment of Radiology, Faculty of Medicine, Chiang Mai Universityen_US
article.stream.affiliationsDepartment of Radiology, Faculty of Medicine, Chiang Mai Universityen_US
article.stream.affiliationsDepartment of Statistics, Faculty of Science, Chiang Mai Universityen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.