Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65113
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกระสินธุ์ อินสว่างen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:41Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:41Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77440/62101en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65113-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstractบทความวิชาการนี้ เป็นการศึกษาประเด็นแนวทางการถวิลหาอดีต (Nostalgia) ในงานศิลปะกรณีศึกษาผลงานจิตรกรรมของปีเตอร์ ดอยจ์ (Peter Doig) การศึกษาในบทความนี้แบ่งออกเป็นสามหมวดหลักได้แก่ 1. โครงสร้างความหมายของคำและประวัติศาสตร์ศิลปะนอสแตลเจีย ตั้งแต่ช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยอาศัยการกำเนิดกล้องถ่ายภาพเป็นจุดเริ่มต้นสู่การศึกษารูปแบบและกรรมวิธีในการนำเสนอผลงานศิลปะร่วมสมัย 2. ความหมายและปัจจัยของนอสแตลเจียในมิติของนักจิตวิทยาและนักมานุษยวิทยา 3. การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและที่มาในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของปีเตอร์ดอยจ์ ในแนวทางการถวิลหาอดีต โดยจำแนกเป็นสามช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงระหว่างการศึกษา ช่วงต้นของการก้าวเข้าสู่อาชีพศิลปิน และช่วงประกอบอาชีพศิลปินการวิเคราะห์ผลงานของปีเตอร์ ดอยจ์ จะใช้พื้นฐานสี่ปัจจัยหลัก ได้แก่ ที่มาของแรงบันดาลใจ แนวความคิด ทัศนธาตุทางศิลปะ และการวิเคราะห์อัตลักษณ์ เพื่อนำไปสู่การศึกษาทำความเข้าใจรูปแบบของงานศิลปะแนวทางการถวิลหาอดีต รวมทั้งการศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานของจิตรกรร่วมสมัยที่ให้ความสำคัญกับนัยยะของพื้นที่ สถานที่ เวลา และประวัติศาสตร์ผลจากการศึกษาพบว่า ศิลปะแนวทางการถวิลหาอดีตมีพัฒนาการอย่างชัดเจนตั้งแต่ยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม จากเหตุปัจจัยทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและรูปแบบทางศิลปะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อผลงานศิลปะร่วมสมัย กรณีศึกษาผลงานจิตรกรรมของปีเตอร์ดอยจ์ พบว่าศิลปินมักอาศัยประสบการณ์ตรงที่ได้รับจากการโยกย้ายถิ่นฐานและการเดินทางตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นแรงบันดาลใจหลักในการสร้างสรรค์ศิลปะผลงานจิตรกรรมของดอยจ์ไม่ได้เป็นแค่การจำลองสถานการณ์ สถานที่ และช่วงเวลาในอดีตเท่านั้น แต่ยังได้ผนวกความคิดเรื่องเวลาในปัจจุบันเข้าไว้ในผลงานด้วยen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการถวิลหาความรู้สึกในอดีตผ่านผลงานทัศนศิลป์ กรณีศึกษาผลงานจิตรกรรมของปีเตอร์ ดอยจ์en_US
dc.title.alternativeNostalgia in Visual Art: A Study of Nostalgic Painter Peter Doig.en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิจิตรศิลป์en_US
article.volume7en_US
article.stream.affiliationsคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.