Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65109
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อเล็กซานดร้า กรีน | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:41Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:41Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.issn | 1906-0572 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77245/61996 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65109 | - |
dc.description | วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) | en_US |
dc.description.abstract | ทั้งประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์ (พม่า) มีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นหลัก ซึ่งได้ส่งผลให้ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในช่วงคริสตศตวรรษที่17 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่พบในวัด ในพระวิหาร และในพระอุโบสถของวัด มีความคล้ายคลึงกันในด้านเนื้อหาสาระ แต่การจัดวางภาพจิตรกรรมฝาผนังของทั้งสองประเทศมีความแตกต่างอันชัดเจน ภาพจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทยมักพบในพระอุโบสถ และพระวิหาร ฝาผนังด้านหลังพระประธานในพระอุโบสถมักแสดงภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับไตรภูมิซึ่งก็คือสามพิภพหรือสถาน 31 แห่ง ส่วนฝาผนังด้านทางเข้าแสดงภาพมารผจญพระโคตมะ โดยมีพระแม่ธรณีบีบมวยผมเพื่อหลั่งน้ำพัดท่ามมารไปจากพระพุทธเจ้าส่วนผนังด้านข้างมักแสดงภาพเทวดา และ/หรือ ภาพพุทธประวัติ และเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในชาติภพก่อนที่จะเสวยชาติเป็นพระพุทธเจ้า ในประเทศเมียนมาร์ (พม่า) ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งมักพบในวัดมากกว่าในวิหาร มักแสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ 28 องค์ก่อนพระโคตมะภรพพุทธประวัติ และภาพเรื่องราวของมหานิบาตทศชาติชาดก (10 ชาติสุดท้ายจาก 547 ชาติภพก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสวยชาติเป็นพระพุทธเจ้า) และภาพของนรกภูมิ ภาพผู้คนกราบนมัสการพระพุทธเจ้า ภาพเครื่องรางศักดิ์สิทธิ์ปกป้องจากภยันตราย ภาพที่อ้างถึงรสายนเวท และภาพที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าองค์ถัดไปหรือพระศรีอาริยเมตไตรย พื้นที่ผนังส่วนใหญ่ของวัดต่างๆ ในประเทศพม่ามักแสดงภาพบรรยายต่างๆ แต่มักเป็นแถบเวียนรอบผนังวัด เวียนจากด้านล่างขึ้นด้านบน ด้วยการแสดงเป็นลำดับขั้นที่เวียนขึ้นนี้ ภาพจึงมักบรรยายแสดงถึงพระพุทธเจ้าตอนที่ยังมีอารมณ์ความรู้สึกไปถึงตอนที่ทรงตรัสรู้ ภาพของพระพุทธเจ้า 28 องค์ในอดีตจะแสดงที่ด้านบนของผนัง ส่วนชาติแรกของทศชาติจะแสดงใกล้พื้นที่สุด ภาพการสักการะพระพุทธเจ้า ภาพนรกภูมิ ภาพแสดงรสายนเวท และภาพวัตถุมงคลมักอยู่ในส่วนเชื่อมต่อด้านข้าง มีไม่กี่กรณีที่มีข้อยกเว้นไม่เป็นไปตามที่กล่าวมา ในบทความฉบับนี้ ผู้ศึกษาใคร่จะศึกษาว่าพื้นที่ (วัดหรือพระวิหาร) ที่มีจิตรกรรมฝาผนัง จะสร้างอิทธิพลอย่างไรต่อจินตภาพ และผู้ศึกษาได้โต้แย้งว่าการใช้งานพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แต่ละแห่งจะส่งผลต่อลักษณะการจัดวางภาพจิตรกรรมฝาผนังระดับชั้นที่แตกต่างกันทางสังคมของผู้ที่จัดทำภาพจิตรกรรมฝาผนังก็ส่งผลให้เกิดความแตกต่างระหว่างจิตรกรรมฝาผนังที่พบในทั้งสองประเทศ แม้ว่าโครงสร้างการบรรยายเรื่องราวด้วยภาพจะแตกต่างกัน ความหมายที่สื่อด้วยภาพกลับเหมือนกันมาก โดยเป็นการสะท้อนความเชื่อทางศาสนาที่ทั้งชาวไทยและชาวเมียนมาร์ (พม่า) มีเหมือนกัน | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ : จิตรกรรมฝาผนังแบบไทยและแบบพม่า ในศตวรรษที่ 17-19 | en_US |
dc.title.alternative | Creating Sacred Space: Thai and Burmese Wall Paintings of the Seventeenth to Nineteenth Centuries | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารวิจิตรศิลป์ | en_US |
article.volume | 6 | en_US |
article.stream.affiliations | ภัณฑารักษ์ เฮนรี จินส์เบิร์ก ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผนกเอเชีย บริติชมิวเซียม นครลอนดอน สหราชอาณาจักร | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.