Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65099
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุรชัย จงจิตงาม | en_US |
dc.contributor.author | ศิริวรรณ เกตตะพันธุ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:40Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:40Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.issn | 1906-0572 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77257/62006 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65099 | - |
dc.description | วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) | en_US |
dc.description.abstract | บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิค และวัสดุในงานศิลปกรรมปูนปั้น ล้านนาที่วัดเกาะกลาง ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนในเบื้องต้น ซึ่งเป็นงานปูนปั้นที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีระหว่าง พ.ศ. 2548 - 2549 โดยการวิจัยพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Description) เทคนิคในงานปูนปั้นสามารถจำแนกออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นงาน ประติมากรรมตัวภาพ อันได้แก่ เทวดา กินรี และภาพสัตว์ ซึ่งล้วนเป็นงานปูนปั้น นูนสูงที่มีการใช้อิฐเป็นแกนยึดติดกับผนังสถาปัตยกรรมทั้งสิ้น แล้วจึงปั้นปูนพอก เป็นรูปร่าง และเก็บรายละเอียด อันเป็นเทคนิคพื้นฐานที่พบสืบเนื่องมาโดย ตลอดนับตั้งแต่ปูนปั้นในศิลปะหริภุญไชย กลุ่มที่สองได้แก่ ปูนปั้นในกลุ่มลายพรรณพฤกษา ลายเมฆ และลายกนกที่มีการ ใช้โกลนลายหนุนตัวลาย ซ่ึงทำให้ตัวลายมีความนูนเด่นจากผิวพ้ืน อันเป็นเทคนิค ที่พบมากในศิลปะล้านนาในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 การวิเคราะห์ปูนโดยวิธีการทางเคมีด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์แบบผง (Powder X-ray Diffractometer) และกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่อง กราด (Scanning Electron Microscope: SEM) พบว่าองค์ประกอบหลัก คือ แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate) ซิลิกอนออกไซด์ (Silicon Oxide) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบในปูน และทราย อันเป็นวัสดุหลักของปูนปั้น แต่ ทุกตัวอย่างที่ทำการวิเคราะห์พบปริมาณของทรายมากกว่าปูนทั้งสิ้น นอกจากนั้น ยังพบร่องรอยการตกแต่งปูนปั้นด้วยชาดสีแดง เทคนิคทางศิลปกรรมเช่นนั้น ทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของงานปูนปั้นที่พบ ใหม่ ณ วัดเกาะกลางว่า มีเทคนิคที่สอดคล้องกับเทคนิคปูนปั้นที่พบมากในศิลปะ ล้านนาในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 สอดคล้องกับรูปทรงเทวดา กินรี และกลุ่มลายพรรณพฤกษามีรูปแบบศิลปกรรมที่สัมพันธ์อย่างชัดเจนกับ งานปูนปั้นล้านนาในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ฉะนั้น ปูนปั้นที่ขุดพบ ณ วัดเกาะกลางจึงควรมีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวเช่นกัน ทั้งนี้ ยกเว้นปูนปั้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดที่เรียกว่า “เนินแม่ม่าย” ซึ่งมีข้อสังเกตว่า น่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกัน อันเป็นประเด็นที่ควรจะ ศึกษาต่อไปในอนาคต | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปูนปั้นวัดเกาะกลาง อําเภอป่าซาง จังหวัดลําพูน : การศึกษาเบื้องต้นด้านเทคนิค วัสดุ และความสัมพันธ์ที่มีต่อรูปแบบศิลปกรรม | en_US |
dc.title.alternative | Stucco of Koh Klang Temple, Pasang District Lamphun : Primary study of techniques, materials and their relations to the style of art | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารวิจิตรศิลป์ | en_US |
article.volume | 6 | en_US |
article.stream.affiliations | อาจารย์ประจําสาขาวิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ นักศึกษาปริญญาเอก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ | en_US |
article.stream.affiliations | นักวิจัยในสังกัดห้องปฏิบัติวิจัยคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์โบราณคดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.