Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65097
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอรวรรณ วิไชยen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:40Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:40Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77228/61981en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65097-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstractบทความนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับวาทกรรมของไตว่าด้วยเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ปรากฏในลัทธิพิธีและความเชื่อของชุมชนไต อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์วาทกรรมผ่านพิธีกรรมและความเชื่อของชุมชนไตที่สัมพันธ์กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงกระบวนการสร้างวาทกรรมเชิงอำนาจ (ลัทธิพิธีและความเชื่อ) ผ่านสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของชุมชนไตในอำเภอเวียงแหง และ 3) เพื่อศึกษาถึงผลของวาทกรรมความเชื่อว่าด้วยเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่มีผลต่อชุมชนไตในอำเภอเวียงแหง ผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการของความเชื่อของมนุษย์ (belief system) คือ ตำนานเรื่องเล่า (myth) พิธีกรรมหรือกิจกรรม (rite) และ ระบบสัญลักษณ์ (symbol) ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนไตมีความเชื่อในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผ่านตำนานที่มีเรื่องราวโยงความสัมพันธ์กับพระองค์ ด้วยความเชื่อพื้นฐานเรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อเรื่องวีรบุรุษของชุมชนไต ทำให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเข้าไปอยู่ในความเชื่อของสังคมไตในฐานะ “วีรบุรุษสิ่งศักดิ์สิทธิ์” ผลของวาทกรรมสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่มีต่อชุมชน ทให้พื้นที่อำเภอเวียงแหงกลายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์บริเวณชายแดน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีสถานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำพื้นที่ มีการเชื่อมโยงเรื่องเล่าสถานที่ต่างๆ เข้ากับความเชื่อเรื่องการเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชุมชนมีการประกอบพิธีกรรมทั้งระดับปัจเจก ระดับชุมชน และระดับรัฐ ดังจะเห็นได้จากการสร้างเหรียญ การสร้างรูปประติมากรรมของพระองค์เข้าไปไว้ในวัดต่างๆ การเกิดเจ้าทรงเจ้าพ่อองค์ดำในพื้นที่ และพิธีบวงสรวงในวันสำคัญประจำปี ทั้งนี้วาทกรรมในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชต่อชุมชนไตเวียงแหงนั้น ไม่เพียงแต่ส่งเสริมประวัติศาสตร์ชุมชนไต หากยังช่วยเสริมการสร้างชาติไตด้วยการเข้าไปเป็นวีรบุรุษในสังคมไตอีกด้วยen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleตำนาน ความเชื่อ และพิธีกรรมในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไต: กรณีศึกษาชุมชนไตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeLegend, Believe and Ritual in King Naresuan Maharaj of Tai: A Case Study on the Tai Community, Wiang Haeng District, Chiang Mai Province.en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิจิตรศิลป์en_US
article.volume5en_US
article.stream.affiliationsนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.