Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65057
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชาตรี ประกิตนนทการen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:38Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:38Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77656/62279en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65057-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษางานศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กษัตริย์รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ.2325 – 2352) เป้าหมายของงานวิจัยมุ่งเน้นศึกษาถึงลักษณะเฉพาะ อุดมการณ์ สัญลักษณ์ ตลอดจนความหมายของงานศิลปะและสถาปัตยกรรมในยุคนี้ที่มีต่อสังคมยุคต้นรัตนโกสินทร์ โดยอาศัยชุดเอกสารชั้นต้นต่างๆ เช่น คัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สมุดภาพไตรภูมิพงศาวดาร ตลอดจนการลงพื้นที่สำรวจงานศิลปะและสถาปัตยกรรมในยุคสมัยดังกล่าว เช่น วัดพระเชตุพน วัดสระเกศ วัดพระแก้ว และวัดราชบุรณะ เป็นต้น ผลการวิจัยพบว่าในยุคสมัยนี้ได้มีการยก “คติพระอินทร์”ขึ้นเป็นอุดมการณ์ใหม่ของรัฐ มีการใช้สัญลักษณ์ “ศีรษะแผ่นดิน” ในฐานะศูนย์กลางของโลกแทนที่ “เขาพระสุเมรุ” คตินิยมดังกล่าวได้ถูกนำเสนอผ่านรูปแบบงานศิลปะและสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ 3 ประการซึ่งแตกต่างออกไปจากรูปแบบงานศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยาตอนปลาย ประการแรก คือ คตินิยมในการสร้างระเบียงคดล้อมรอบพระอุโบสถซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในสมัยอยุธยา ประการที่สอง คือ ความนิยมใน “คติพระอินทร์” ที่นำมาซึ่งการสร้างงานศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ปรากฏรูปสัญลักษณ์ของพระอินทร์เป็นจำนวนมาก และประการที่สามคือ พระราชนิยมใน “พระพุทธรูปปางสมาธิ” ของรัชกาลที่ 1 แตกต่างจากคตินิยมเดิมในสมัยอยุธยาที่นิยม “พระพุทธรูปปางมารวิชัย” ผลของงานวิจัยนำมาสู่ข้อสรุปใหม่ที่โต้แย้งกับข้อเสนอเดิมในวงวิชาการทางประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรมที่เชื่อว่างานศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 คือ งานศิลปะและสถาปัตยกรรมที่เน้นการจำลองหรือลอกเลียนแบบงานช่างจากสมัยอยุธยาตอนปลายen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleศิลปะ-สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 1: แนวคิด คติสัญลักษณ์ และความหมาย ทางสังคมยุคต้นรัตนโกสินทร์en_US
dc.title.alternativeArt and Architecture in the Reign of King Rama I: Concept, Symbolism, and Socail Meaning of Early Rattanakosin Period.en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิจิตรศิลป์en_US
article.volume4en_US
article.stream.affiliationsรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.