Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65035
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วัชราพร อยู่ดี | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:37Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:37Z | - |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.issn | 1906-0572 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77652/62275 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65035 | - |
dc.description | วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) | en_US |
dc.description.abstract | บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่ออธิบายถึงกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะของผู้ศึกษา กรณีการสร้างสรรค์ผลงานชุด “ความเศร้าอันงดงาม” ซึ่งมีที่มาจากประสบการณ์ตรง คือ การสูญเสียลูกเมื่อแรกคลอด ความสั่นสะเทือนทางใจที่รุนแรงกลายเป็นความบันดาลใจให้สร้างสรรค์ผลงาน สิ่งที่ศึกษา คือ ผลงานศิลปะจำนวน 10 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 ชุด โดยวิเคราะห์การใช้สัญญะแทนค่าอารมณ์ด้วยทัศนธาตุต่างๆ ที่มีนัยยะสำคัญ ได้แก่ รูปทรง สี น้ำหนัก และพื้นที่ว่าง ความสัมพันธ์ของระดับอารมณ์กับกระบวนการแสดงออกในผลงาน วิเคราะห์เปรียบเทียบทั้งชุดที่ 1 และ 2 รวมถึงการนำไปเปรียบเทียบกับผลงานของศิลปินหญิงที่มีประสบการณ์ตรงเช่นเดียวกันคือ ฟรีดา คาร์โล (Frida Kahlo) ผลการศึกษาทำให้เห็นวิธีคิดและแนวทางการสร้างสรรค์ของผู้ศึกษาว่าเห็นความสำคัญของการแปรค่าอารมณ์กับกระบวนการสร้างสรรค์งาน มีวิธีคิดแบบเป็นภาพ และใช้อารมณ์ความรู้สึกมากกว่าความคิดที่เป็นเหตุผล ซึ่งมีพัฒนาการคลี่คลายไปตามลำดับ เมื่อนำผลงานมาประเมินคุณค่าตามหลักของเอ็ดมันด์ เบริ์ก เฟลด์แมน (Edmurd Burke Feldman) แล้ว ยังพบว่ามีคุณค่าทับซ้อนกันทั้ง 3 ข้อ คือ มีทั้งความงาม การแสดงออกทางความรู้สึกและการยกระดับจิตใจ กอปรกับด้วยระยะเวลาที่ผ่านพ้นไปพอสมควร จึงเกิดมุมมองการวิเคราะห์ด้วยสายตาที่เปิดกว้างและกระจ่างแจ้ง ในที่สุดจึงค้นพบคุณค่าและความหมายของการสร้างสรรค์งานศิลปะที่สะท้อนแทนอารมณ์ที่มีพื้นฐานจากชีวิตจริงนั่นคือ การเข้าถึงทั้งความจริงในการแสดงออกซึ่งงานศิลปะและความจริงแท้ในการเอาชนะความทุกข์ | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การแปรค่าอารมณ์สู่การสร้างสรรค์ งานศิลปะ: กรณีศึกษาผลงานศิลปะ ชุด “ความเศร้าอันงดงาม” | en_US |
dc.title.alternative | An emotionally variation turns to creative arts Case Study: Creative Arts “Beautiful Sadness.” | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารวิจิตรศิลป์ | en_US |
article.volume | 4 | en_US |
article.stream.affiliations | อาจารย์ประจำหมวดวิชาพื้นฐานทางศิลปะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.