Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65025
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทิพวรรณ ทั่งมั่งมีen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:37Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:37Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77653/62276en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65025-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงประวัติความเป็นมา แนวคิด รูปแบบและเทคนิควิธีการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะพม่า วัดม่อนปู่ยักษ์ เมืองลำปาง พร้อมทั้งทำการอนุรักษ์องค์พระพุทธรูปที่ชำรุดเสียหาย โดยใช้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ศิลปกรรมและด้านวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์ ตลอดจนการสร้างพระพุทธรูปองค์จำลอง ด้วยองค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัยเบื้องต้นมาเป็นแนวทางซึ่งมีแนวคิด รูปแบบ และเทคนิควิธีการสร้างที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่าพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะพม่า สกุลช่างมัณฑะเลย์ วัดม่อนปู่ยักษ์ เมืองลำปาง เป็นพระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดีที่ได้รับอิทธิพลด้านประติมานวิทยาจากพระพุทธปฏิมาสกุลช่างไทใหญ่ และมีพุทธลักษณะที่สะท้อนความหมายเชิงสัญลักษณ์แนวคิดมหาปุริสลักขณะ สัญลักษณ์ปางพระพุทธปฏิมา สัญลักษณ์พระพุทธเจ้าองค์ ปัจจุบัน และสัญลักษณ์จากวัสดุที่ใช้ในการสร้าง โดยเฉพาะคติความเชื่อเรื่องอานิสงส์การสร้างพระพุทธรูปด้วยเกสรดอกไม้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและสืบทอดพระพุทธศาสนา ด้วยกรรมวิธีการสร้างงานศิลปะเครื่องเขิน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษในงานพุทธศิลป์ของพม่าและไทใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นจากประเทศพม่าแล้วอัญเชิญมาประดิษฐานในวิหารไม้วัดม่อนปู่ยักษ์เมื่อประมาณ 150 ปีก่อน ส่วนการอนุรักษ์พระพุทธรูปที่ชำรุดให้กลับมามีสภาพที่มั่นคงแข็งแรงนั้นได้ทำการตรวจสอบองค์ประกอบและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการสร้างพระพุทธรูปด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน รวมทั้งปฏิบัติการอนุรักษ์โดยใช้ความรู้ด้านเทคนิคและกระบวนการอนุรักษ์งานศิลปกรรมประกอบกับความรู้จากการศึกษาวิจัย นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้สร้างพระพุทธปฏิมาองค์จำลองโดยนำองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยเบื้องต้นมาเป็นแนวทาง ด้วยแนวคิด รูปแบบเทคนิควิธีการที่สะท้อนถึงคติความเชื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานกับความรู้ทางด้านทัศนศิลป์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ องค์พระพุทธรูปได้กลับมามีสภาพที่มั่นคงแข็งแรงและเกิดองค์ความรู้เรื่องการอนุรักษ์พระพุทธรูปศิลปะพม่าในล้านนา ตลอดจนสร้างความภาคภูมิใจแก่ผ้คู นในชุมชนท้องถิ่น เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติอย่างยั่งยืนen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการศึกษาพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะพม่า วัดม่อนปู่ยักษ์ เมืองลำาปางen_US
dc.title.alternativeA Study Buddha Image Burma Arts at Wat Monpooyak, Lampang Province for Conservation and Arts Creation.en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิจิตรศิลป์en_US
article.volume4en_US
article.stream.affiliationsผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาพพิมพ์ จิตรกรรม และประติมากรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.