Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65015
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นวพรรณ ปะปานา | en_US |
dc.contributor.author | ลาวัลย์ ทาวิทะ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:36Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:36Z | - |
dc.date.issued | 2016 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5983 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/88999/70034 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65015 | - |
dc.description | Chiang Mai Medical Journal (Formerly Chiang Mai Medical Bulletin) is an official journal of the Faculty of Medicine, Chiang Mai University. It accepts original papers on clinical and experimental research that are pertinent in the biomedical sciences. The Journal is published 4 issues/year (i.e., Mar, Jun, Sep, and Dec). | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลทารกเกิดก่อนกําหนดแบบแกงการู ในหอ ผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ต่อสัญญาณชีพ ความเข้มข้นของออกซิเจน ภาวะหยุดหายใจของทารกและความ พึงพอใจของมารดาทารกเกิดก่อนกําหนด วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลองในมารดาและทารกเกิดก่อนกําหนดที่มีอายุหลังปฏิสนธิ มากกว่า 30 สัปดาห์ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่าง เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ทารกเกิดก่อนกําหนดในการศึกษานี้ได้รับการดูแล แบบแกงการูตามแนวปฏิบัติของรพ.มหาราชนครเชียงใหม่ มีการเก็บข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ เพศ อายุครรภ์ และอายุที่ได้รับการดูแลแบบแกงการู อายุมารดา เก็บข้อมูลสัญญาณชีพ ได้แก่ อุณหภูมิ อัตราเต้นหัวใจ อัตราหายใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน ก่อนการดูแล ขณะดูแล และหลังการดูแลแบบแกงการู รวม ทั้งการหยุดหายใจของทารกและความพึงพอใจของมารดา รายงานข้อมูลพื้นฐานโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าสัญญาณชีพของทารกโดยใช้สถิติ repeated measures ANOVA ผลการศึกษา ทารกเกิดก่อนกําหนดจํานวน 17 รายได้รับการดูแลแบบแกงการู เป็นทารกเพศชายร้อยละ 52 มีอายุครรภ์แรกเกิดเฉลี่ย 29.7 สัปดาห์ อายุหลังปฏิสนธิเฉลี่ยขณะได้รับการดูแลแบบแกงการู 32.8 สัปดาห์ มารดามีอายุเฉลี่ย 30.06 ปี ไม่มีความแตกต่างของสัญญาณชีพของทารกก่อนดูแล ขณะดูแลและ หลังการดูแลแบบแกงการู ได้แก่ อุณหภูมิ (36.8±0.2, 36.9±0.3, 37.0±0.4 องศาเซลเซียส, p=0.14) อัตราเต้นหัวใจ (161.6±13.3, 162.2±12.6, 165.8±16 ครั้งต่อนาที, p=0.17) อัตราการหายใจ (55.8±7.2, 55.9±5.7, 53.9±8.5 ครั้งต่อนาที, p=0.55) และความอิ่มตัวของออกซิเจน (ร้อยละ 97.3±2.7, 96.8±2.5, 97.0±3.2, p=0.81) ไม่มีการหยุดหายใจในขณะทําการศึกษา และมารดาร้อยละ 100 มีความพึงพอใจใน ระดับมากที่สุด สรุปผลการศึกษา การดูแลทารกเกิดก่อนกําหนดแบบแกงการูสามารถทําได้อย่างปลอดภัยในหอผู้ป่วย หนักทารกแรกเกิด โดยไม่มีผลกระทบต่อสัญญาณชีพของทารก | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | Faculty of Medicine, Chiang Mai University | en_US |
dc.title | นิพนธ์ต้นฉบับ : ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลทารกเกิดก่อนกําหนดแบบแกงการู ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด | en_US |
dc.title.alternative | Outcomes of a clinical guideline for implementation of Kangaroo Care with premature Infants in Neonatal Intensive Care Unit | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | เชียงใหม่เวชสาร | en_US |
article.volume | 55 | en_US |
article.stream.affiliations | ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
article.stream.affiliations | ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.