Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65014
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มาณพ มานะแซม | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:36Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:36Z | - |
dc.date.issued | 2555 | en_US |
dc.identifier.issn | 1906-0572 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77663/62286 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65014 | - |
dc.description | วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบเครื่องแต่งกายในพิธีกรรมฟ้อนผีของชาวล้านนา” เป็นการศึกษาถึงที่มา แนวความคิด ตลอดจนคติความเชื่อแห่งพีธีกรรมที่สามารถน้อมนำไปสู่ลักษณะหรือการแสดงออกด้านเครื่องแต่งกายในรูปแบบต่างๆ ของพิธีกรรมฟ้อนผี จากการศึกษาวิจัยพบว่า พิธีกรรมฟ้อนผียังคงถือปฏิบัติกันอย่างมากในเขตจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง โดยเหตุผลแรงจูงใจในการประกอบพิธีกรรมนั้นอาจจะมิใช่เพียงแค่การเคารพบูชาวิญญาณบรรพบุรุษเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสื่อแสดงถึงความมีอำนาจและความมีหน้ามีตาในสังคม ซึ่งเครื่องแต่งกายก็สามารถแสดงถึงสัญญะในด้านนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในมิติทางความเชื่อดั้งเดิมนั้นยังเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เกิดหลักปฏิบัติทางจารีตอันเคร่งครัด เกี่ยวกับเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับไปจนถึงส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งได้เชื่อมโยงไปถึงนัยความหมายของรากเหง้าแห่งเผ่าพันธุ์ หรือแม้กระทั่งการนำไปใช้ในเชิงสัญลักษณ์อันสลับซับซ้อนมากขึ้น เช่น ภูมิหลัง ที่มา หรือระดับชั้นของสายผีในแต่ละตระกูล เช่น กลุ่มตระกูลสายผีมด กลุ่มตระกูลสายผีเม็ง หรือแม้กระทั่งกลุ่มสายผีที่แพร่กระจายเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น จีนและอินเดีย เป็นต้น เครื่องแต่งกายฟ้อนผีได้ช่วยเพิ่มสีสันและความงามจนกลายเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นแห่งพิธีกรรม สามารถแสดงถึงทัศนคติด้านสุนทรียะขั้นพื้นฐานที่ชาวบ้านได้แสดงออกมาอย่างจริงใจ โดยอาศัยพิธีกรรมการฟ้อนรำเป็นสื่อความหมายเพื่อติดต่อกับอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเคารพนบนอบ ทั้งนี้ก็เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อแห่งตนนั้นเกิดความพึงพอใจแล้วช่วยเหลือจนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้ เช่น การฟ้อนรำเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ การฟ้อนรำเพื่อให้หายจากอาการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือฟ้อนรำเพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ เป็นต้น ผลจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยคาดว่าจะเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการต่อนักศึกษาและบุคคลที่มีความสนใจในเรื่องราวของเครื่องแต่งกายอันมีผลสืบเนื่องมาจากคติความเชื่อเรื่องการฟ้อนผีของชาวล้านนา | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | รูปแบบเครื่องแต่งกาย ในพิธีกรรมฟ้อนผีของชาวล้านนา | en_US |
dc.title.alternative | The Study of Clothing Pattern in Lan Na Ritual “FON PEE” (Spiritual Dance). | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารวิจิตรศิลป์ | en_US |
article.volume | 3 | en_US |
article.stream.affiliations | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะไทย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.