Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64932
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปนัดดา บุณยสาระนัยen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:32Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:32Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://journal.soc.cmu.ac.th/issue_upload/48300%201447128412.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64932-
dc.descriptionวารสารสังคมศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 โดยการทำงานร่วมกันของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นกองบรรณาธิการen_US
dc.description.abstractภาษาของคนทุกกลุ่มถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและระบบภูมิปัญญาที่ต้องใช้เวลาในการสร้างสรรค์และสั่งสมสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน หลายชั่วรุ่นคน แม้ว่าในด้านหนึ่งภาษาจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการติดต่อ สื่อสารระหว่างกันของคนในสังคม เป็นตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ (Ethnic identity marker) แตในอีกด้านหนึ่งภาษายังเป็นเทคโนโลยีทางอำนาจ(Technology of power) ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ในการประกอบสร้างตัวตนของรัฐชาติด้วยการ สถาปนาอำนาจภาษาแห่งชาติ (National language) ขึ้นในขณะที่อำนาจของ ภาษาแห่งชาติทรงพลังมากขึ้นๆ พร้อมกันนั่นก็ได้เกิดการกดทับเบียดขับ หรือ ย่อยสลายพลังของชุมชนภาษาอื่นๆ ในรัฐชาติให้อ่อนด้อยลงจนถึงสูญสิ้นไปด้วยเช่นเดียวกัน สังคมไทยซึ่งเป็นสังคมพหุภาษา (Multilingual society) มีประวัติศาสตร์ และแบบแผนวิถีทางสังคมวัฒนธรรมที่สะท้อนอย่างชัดเจนตลอดมาว่าดำรงอยู่บนความอุดมมั่งคั่งด้วยวิถีวัฒนธรรมของชุมชนหลากชาติพันธุ์หลายภาษา ประกอบไปด้วยชุมชนชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษาตระกูลไท-ไทย และชุมชนชาติพันธุ์ที่มี การใช้ภาษาอึ่นๆนอกเหนือจากภาษาไท-ไทย เช่น ชุมชนชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในภาคเหนือ ชุมชนผู้ใช้ภาษาลาว ภาษาเขมร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชุมชนผู้ใช้ภาษามอญในภาคตะวันตก ชุมชนผู้ใช้ภาษามลายูในภาคใต้ ฯลฯ เป็นต้น หากแต่ปฏิบัติการต่างๆ ของรัฐไทยผ่านระบบการศึกษา การเมืองการปกครอง การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กลับมุ่งสถาปนาแต่เพียง อำนาจในภาษาแห่งรัฐหรือภาษาไทยมาตรฐานเท่านั้น โดยการดำเนินนโยบาย เอกภาษามาตั้งแต่ยุคสร้างรัฐชาติจนถึงยุคเทคโนโลยีการสื่อสารไร้พรมแดน ในปัจจุบัน ภาวะเช่นนี้ได้สร้างสมสภาพการกดทับและเบียดขับสังคมภาษาอื่นๆ ที่ดำรงอยู่ในประเทศให้อยู่ในสภาพที่ไร้คุณค่า ไร้พลัง ไร้พื้นที่ ทางสังคม มาเป็น เวลานาน อย่างไรก็ตาม พบว่าชุมชนหลากภาษาเหล่านี้ก็มิได้ยอมจำนนต่อการ ดำเนินตามนโยบายเอกภาษาเสียทีเดียว แต่กลับพยายามแสวงหาวิธีการตั้งรับ ต่อรอง และต่อสู้กับเทคโนโลยีทางอำนาจของภาษาแห่งรัฐ ไม่เพียงเพื่อการดำรง รักษาวัฒนธรรมทางภาษาของตนเท่านั้น แต่เป็นการสร้างพื้นที่ทางสังคมให้แก่ ชุมชนภาษาของตนด้วย บทความนี้มุ่งทำความเข้าใจสังคมไทยในฐานะที่เป็น สังคมพหุภาษาที่อยู่ภายใต้การดำเนินนโยบายเอกภาษา ซึ่งส่งผลให้เกิดกระแส การต่อรองและต่อสู้ของชุมชนภาษาชาติพันธุ์เพ อสร้างพื้นที่ทางสังคมให้แก่ ชุมชนภาษาของตนผ่านปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์en_US
dc.titleการเมืองเรื่องภาษาในสังคมไทยen_US
dc.title.alternativeThe Politics on Languages in Thai Societyen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารสังคมศาสตร์en_US
article.volume25en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.