Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64925
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ประสิทธิ์ ลีปรีชา | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:32Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:32Z | - |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.soc.cmu.ac.th/issue_upload/16000%201447128304.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64925 | - |
dc.description | วารสารสังคมศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 โดยการทำงานร่วมกันของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นกองบรรณาธิการ | en_US |
dc.description.abstract | แม้สังคมไทยจะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ โดยรัฐไทยรับรู้ถึง การมีอยู่ของกลุ่มวัฒนธรรมและชาติพันธุ์รวมทั้งการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิทางวัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์แต่รัฐไทยก็ไม่เคยมีนโยบาย ที่ชัดเจนว่าด้วยเรื่องพหุวัฒนธรรมนิยมในสังคมไทย หากแต่ในบริบทของการ สร้างรัฐชาติรัฐไทยกลับดำเนินนโยบายแบบอาณานิคมภายในด้วยการสร้าง ภาพลักษณ์ให้กลุ่มวัฒนธรรมและชาติพันธุ์เป็น “คนอื่น” ที่เข้ามาพึ่งพารัฐไทย แต่เป็นกลุ่มที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติแล้วใช้นโยบายผสมกลมกลืนให้ พวกเขากลายมาเป็นคนไทย (Thai-ization) ผลที่ตามมาคือกลุ่มวัฒนธรรมและ ชาติพันธ็ภายใต้อาณาบริเวณของรัฐไทยเกิดการสูญเสียอัตลักษณ์แต่ในอีก ด้านหนึ่ง กลับทำให้พวกเขาเกิดบทเรียน มีการตื่นตัวแล้วลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิ ทางวัฒนธรรม ทำการฟื้นฟู อนุรักษ์รวมทั้งสร้างใหม่ซึ่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และท้องถิ่น โดยอาศัยกลไกและบริบทของโลกาภิวัตน์ที่มีการเชื่อมโยงเข้ากับ กระแสการเรียกร้องสิทธิ ของชนพื้นเมืองในทวีปอี่นๆ และขบวนการสิทธิมนุษยชน ในระดับนานาชาติเนื้อหาในบทความนี้ได้จากการสัมภาษณ์ผู้รู้และการสังเกตการณ์จากที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมของขบวนการเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 2530 กับทั้งการรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ผู้เขียนนำเสนอว่าการเกิดขึ้น และพัฒนาการของเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองและชาติพันธุ์ในประเทศไทยเป็นหนึ่งในขบวนการขับเคลื่อนจากระดับรากหญ้าเพื่อสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย ซึ่งไม่เพียงแต่ให้รัฐและสังคมกระแสหลักยอมรับการมีอยู่ของตัวตน ทางชาติพันธุ์เท่านั้น หากแต่ต้องการให้ได้มาซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายในประเทศด้วยขบวนการเคลื่อนไหวของเครือข่ายดังกล่าวมีลักษณะของชมชนแห่งการเชื่อมต่อ (assemblage) ที่กลุ่มชาติพันธุ์ทั่วประเทศไทยร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่ความปรารถนาที่อยากให้เกิดขึ้น นั่นคือสังคมไทยที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรมนิยมในทุกระดับ | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์ | en_US |
dc.title | พหุวัฒนธรรมนิยมจากรากหญ้า: ขบวนการเคลื่อนไหวของเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองและชาติพันธุ์ในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Multiculturalism from Below: The Movement of the Network of Indigenous Peoples and Ethnic Groups in Thailand | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารสังคมศาสตร์ | en_US |
article.volume | 25 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.