Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64849
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวสันต์ ปัญญาแก้วen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:29Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:29Z-
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.urihttp://journal.soc.cmu.ac.th/issue_upload/98400%201446195342.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64849-
dc.descriptionวารสารสังคมศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 โดยการทำงานร่วมกันของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นกองบรรณาธิการen_US
dc.description.abstractบทความนี้นำ เสนอการวิเคราะห์ขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม ผ่าน “โครงการพัฒนา” วัฒนธรรมเพลงไตลื้อสมัยใหม่ในสิบสองปันนา โดยเน้นพิจารณาขบวนการก่อตัวขึ้นมาของกลุ่ม “เสียงไตลื้อ” เป็นกรณีศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเพลงไตลื้อสมัยใหม่ แสดงให้ เห็นว่า ปฏิบัติการของการเดินทาง/เคลื่อนที่ข้ามรัฐชาติ ไม่ว่าจะเป็น การเดินทางของผู้คน (อาทิ ที่ผ่านการค้า การท่องเที่ยว การเยี่ยมญาติมิตร และการศึกษาหาความรู้ของพระ-เณร) หรือ การเคลื่อนย้ายของสิ่งของและ สินค้าทางวัฒนธรรม (ไม่ว่าจะเป็น คลื่นวิทยุ เทปคาสเซ็ตส์ ซีดี และ วิดีโอ ซีดี เพลงและภาพยนตร์) คือกลไกที่สำ คัญอย่างยิ่งยวดต่อขบวนการรื้อฟื้น และสืบสานพุทธศาสนาและวัฒนธรรมของชาวลื้อในสิบสองปันนา เรื่องราว ของ “เสียงไตลื้อ” ด้านหนึ่ง ชี้ให้เห็นว่าการเดินทาง/เคลื่อนที่ข้ามรัฐชาติดัง กล่าวคือกระบวนการที่ก่อตัวขึ้นเพื่อโต้ตอบต่อการปรับเปลี่ยนเชิงนโยบาย ของรัฐในเรื่องที่เกี่ยวกับการกํากับควบคุมสอดส่องตรวจตราอาณาบริเวณ ชายแดน ทว่าในอีกด้านหนึ่ง เรื่องต่างๆ จาก “เสียงไตลื้อ” ก็ยังชี้ให้เห็นว่า ปฏิบัติการของการเดินทาง/เคลื่อนที่ดังกล่าวนั้น ขณะเดียวกันก็ท้าทายต่อ กระบวนการทางอำ นาจที่รัฐชาติจีนยุคใหม่ใช้ในการผนวกรวมและปรับ เปลี่ยนวิถีชีวิตและตัวตนทางวัฒนธรรมของคนเมืองลื้อมากว่าครึ่งศตวรรษ การก่อตัวขึ้นมาของ “เสียงไตลื้อ” แสดงให้เห็นว่า ภายใต้บริบทใหม่ของ การพัฒนาทั้งในระดับชาติ (จีน) และระดับภูมิภาคลุ่มน้ำ โขงตอนบน ยังมี “ที่ว่าง” ที่เปิดโอกาสให้พลเมืองชนชาติส่วนน้อยได้เข้ามาฉกฉวย ช่วงชิง และ “ใช้” เพื่อที่จะขับเคลื่อนและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและตัวตนทาง วัฒนธรรม หรือแม้แต่ “พัฒนา” วัฒนธรรมความเป็นท้องถิ่นของพวกเขาen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์en_US
dc.titleเสียงไตลื้อ การเดินทาง/เคลื่อนที่ของพลเมืองลื้อ สิบสองปันนาen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารสังคมศาสตร์en_US
article.volume19en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.