Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64846
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุชาดา ทวีสิทธิ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:28Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:28Z-
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.urihttp://journal.soc.cmu.ac.th/issue_upload/88900%201446190381.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64846-
dc.descriptionวารสารสังคมศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 โดยการทำงานร่วมกันของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นกองบรรณาธิการen_US
dc.description.abstractจุดมุ่งหมายหลักของการเขียนบทความนี้ คือ ผู้เขียนต้องการทบทวนแนวคิด ทฤษฎีและวิธีวิทยาในผลงานวิชาการเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเพศ-ภาวะและ เพศวิถีในสังคมไทยของศาสตราจารย์ ชาร์ลส์ เอฟ. คายส์ โดยเลือกผลงานวิชาการ สำ คัญสองชิ้นมาวิเคราะห์เท่านั้น คือเรื่อง Mother or Mistress but Never a Monk: Buddhist Notions of Female Gender in Rural Thailand (1984) และเรื่อง Ambiguous Gender: Male Initiation in a Thai Buddhist Society (1986) โดยผู้เขียนมุ่งหมายให้ บทความนี้เป็นดั่งสัญลักษณ์แห่งการระลึกถึงคุณูปการของคายส์ ที่มีต่อวิชาการ สาขามานุษยวิทยาและเพศภาวะศึกษา ในงานเขียนดังกล่าวคายส์พยายามตีความ ประสบการณ์ด้านเพศภาวะและเพศวิถีของคนไทย ซึ่งคัดค้านกับความเข้าใจต่อ ระบบเพศภาวะและเพศวิถีของนักสตรีนิยมแนวมาร์กซิสต์ คายส์ได้นำ วิธีวิทยาของ มานุษยวิทยาแนวตีความสัญลักษณ์ และทฤษฎีว่าด้วยการประกอบสร้างทางสังคม มาประยุกต์ใช้ เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างระบบเพศภาวะและเพศวิถีกับ อุดมการณ์ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท การวิเคราะห์ตีความของคายส์เป็นไปอย่าง เป็นระมัดระวัง รองรับด้วยเนื้อหาในตัวบทพุทธศาสนา (Buddhist texts) และบริบท (contexts) ในช่วงเวลาและสถานที่เฉพาะที่คายส์ทํางานภาคสนามมายาวนาน คาย ส์พยายามโน้มน้าวให้เราเห็นว่า พุทธศาสนานิกายเถรวาทไม่ได้เป็นศาสนาที่มีอคติ ทางเพศแฝงเร้นอยู่ ในขณะเดียวกันก็พยายามบอกเราว่า ระบบความสัมพันธ์ชาย หญิงในสังคมหมู่บ้านไทย-ลาว และไทย-ยวน เป็นแบบพึ่งพาเกื้อกูล ซึ่งไม่ใช่การ จัดความสัมพันธ์แบบลําดับชั้นอย่างที่นักสตรีนิยมแนวมาร์กซิสต์เข้าใจ ถือว่างาน วิชาการทั้งสองชิ้นที่ผู้เขียนเลือกมาวิเคราะห์ในบทความนี้ เป็นงานที่มีคุณค่าต่อ แนวทางการศึกษาเกี่ยวกับระบบเพศภาวะและเพศวิถีทั้งในสังคมไทยและสังคมอื่น อย่างยิ่งen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์en_US
dc.titleผู้หญิง ผู้ชาย และเพศวิถี: เพศภาวะศึกษาในงานมานุษยวิทยาen_US
dc.title.alternativeWomen, Men and Sexuality: Gender Studies in Anthropologyen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารสังคมศาสตร์en_US
article.volume19en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.