Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64681
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติen_US
dc.contributor.authorทัศนา สลัดยะนันท์en_US
dc.contributor.authorวรรณภา โปธิมอยen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:19Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:19Z-
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.issn0857-2178en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/17_2/5Wannapa.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64681-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สร้างบริการเชิงรุกของห้องสมุดผ่านทางกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วย ปัญญาที่ใช้สื่อดิจิทัล และสื่อออนไลน์ 2) พัฒนาทักษะการค้นคว้าวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 3) พัฒนาสื่อการ เรียนรู้ที่ช่วยในการจัดการสอน และการเรียนรู้ในลักษณะออนไลน์ และ 4) สร้างเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างอาจารย์ นักศึกษา และบรรณารักษ์ เพื่อให้นักศึกษามีทักษะ ความรู้ และความเข้าใจในด้านการค้นคว้ายิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษา ระดับปริญญาโท รหัส 52 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ระเบียบวิธีวิจัย ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรม Moodle แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบบันทึกการสังเกต และแบบสัมภาษณ์ ข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยนำไปพัฒนา บริการที่ช่วยสนับสนุนการทำวิจัยทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ต่อไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลของการเข้าไปมีบทบาทในการจัดการสอน และจัดกิจกรรมในชั้นเรียนพบว่า เป็น การสร้างบทบาทเชิงรุกของห้องสมุดในการให้บริการสนับสนุนการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา ทำให้เข้าถึงปัญหา และความต้องการของนักศึกษาแบบเชิงลึก 2) ผลการสังเคราะห์ปัญหา และความต้องการของนักศึกษา ทำให้มีการสร้าง บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาอย่างแท้จริง โดยการสาธิตตัวอย่างบริการออนไลน์ช่วยการค้นคว้าวิจัยบน เว็บไซต์ของห้องสมุด http://library.eng.cmu.ac.th/lib2009 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บริการออนไลน์ ช่วยการค้นคว้าวิจัยของห้องสมุด พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าบริการออนไลน์บนเว็บไซต์ห้องสมุด ช่วยพัฒนาทักษะ การค้นคว้าวิจัยของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการพัฒนาการให้บริการออนไลน์ช่วยการค้นคว้าวิจัย เพื่อทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าแบบอิสระen_US
dc.title.alternativeDeveloping Online Services to Help Doing Research for Thesis and Independent Studyen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
article.volume17en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.