Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64651
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อิสรา ธีระวัฒน์สกุล | en_US |
dc.contributor.author | เทพนิมิต สิทธิศักดิ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:18Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:18Z | - |
dc.date.issued | 2552 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-2179 | en_US |
dc.identifier.uri | http://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/16_1/1Tepnimit.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64651 | - |
dc.description | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคนิคเทคโนโลยีสะอาดและหลักการจีเอ็มพีมาใช้ในการปรับปรุงการผลิต ของโรงงานผลิตลูกชิ้นประสิทธิ์ จังหวัดเชียงใหม่ จากการตรวจประเมินเบื้องต้นพบว่าทรัพยากรที่มีสัมประสิทธิ์ของปริมาณการใช้งานสูงในการผลิตลูกชิ้นมาจาก น้ำและน้ำมัน จากการประเมินละเอียดพบว่า ในโรงงานปัจจุบันมีการใช้น้ำมันสำหรับหม้อต้มไอน้ำเพื่อสร้างเป็นพลังงาน ความร้อนที่ใช้ในกระบวนการผลิตลูกชิ้น สำหรับกระบวนนี้เกิดการสูญเสียพลังงานความร้อนมาก จึงมีกระบวนการ ปรับปรุงด้วยการหุ้มฉนวนหม้อต้ม ตลอดจนอุดรอยรั่วไหลของท่อส่งไอน้ำทำให้ สามารถประหยัดการใช้น้ำมันได้ถึง 63.08 ลิตรต่อปี และมีระยะเวลาคืนทุน 1.5 เดือน ส่วนประเด็นน้ำได้มีกระบวนการปรับปรุงด้วยการใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง ที่สามารถควบคุมการเปิดปิดได้และกำหนดปริมาณน้ำในการต้มให้มีมาตรฐาน พบว่าสามารถประหยัดการใช้น้ำได้ถึง 650 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และมีระยะเวลาคืนทุน 4.2 เดือน ในส่วนการปรับปรุงกระบวนการให้สอดคล้องกับระบบจีเอ็มพีนั้นแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การฝึกอบรม พนักงาน การปรับปรุงโครงสร้างสถานประกอบการ และการพัฒนาระบบเอกสารหลังดำเนินการ พนักงานมีความรู้ความ เข้าใจในหลักการจีเอ็มพีเพิ่มขึ้น แต่โรงงานยังไม่มีความพร้อมในการปรับปรุงโครงสร้างอาคาร เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ ไม่เอื้ออำนวยในปัจจุบัน และมีการทำเอกสารและบันทึกผลการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการจีเอ็มพี | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.title | การปรับปรุงกระบวนการผลิตอาหารในโรงงานลูกชิ้น โดยใช้เทคนิคเทคโนโลยีสะอาดและหลักการจีเอ็มพี | en_US |
dc.title.alternative | Improvement Food Production Process Development in Meat Ball Factory Using Cleaner Technology Technique and GMP Practice | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
article.volume | 16 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่่ | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.