Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64620
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประทีป โพคราเรลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:16Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:16Z-
dc.date.issued2017en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/99815/77538en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64620-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศที่ดีให้กับสถานที่ท่องเที่ยวอย่างทัมลิงตาร์ (Tumlingtar) ประเทศเนปาล ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ทัมลิงตาร์ ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากการปีนเขา การเดินเขา การล่องแก่ง และการชมสถานที่ธรรมชาติอื่นๆ นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเขามะกะลู (Makalu) และอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่จะพักที่ทัมลิงตาร์ อย่างน้อย 2-3 วัน ระหว่างการเดินทาง ทัมลิงตาร์เป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การพักผ่อนและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นอย่างยิ่ง การท่องเที่ยวและที่พักแบบประเพณีนิยมไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทัมลิงตาร์ได้ เช่น การมีโรงแรมขนาดเล็ก 5 แห่ง โดยไร้การวางแผนและออกแบบที่ดี ไม่มีการรักษาสภาพ และไม่มีการลงทุนที่ยั่งยืน จะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่ต้องการเที่ยวในเชิงธรรมชาติได้ อีกทั้งยังไม่สามารถสร้างรายได้และโอกาสให้กับคนพื้นถิ่นด้วย ความหมายที่แท้จริงของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้หายไป ส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืนก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ยิ่งไปกว่านั้น การที่ผู้คนในท้องถิ่นรู้เท่าไม่ถึงการณ์และพยายามหาทางแก้ไขตามแบบของตัวเอง ก็ยิ่งทำให้มันแย่ลง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำให้คนตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่พักอาศัยที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม และดำเนินตามหลักการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้คือการกำหนดปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม และปัจจัยทางเศรษฐกิจ ในการวางแผนและออกแบบที่พักสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ทัมลิงตาร์ ประเทศเนปาล ที่มุ่งเน้นไปยังแนวปฏิบัติที่ต้องใช้ในการวางแผนและออกแบบทางสถาปัตยกรรมของที่พักผ่านการวิเคราะห์พื้นที่ การวิเคราะห์พื้นที่สามารถวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ศักยภาพที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการวิเคราะห์ SWOT งานวิจัยนี้จะช่วยให้คนพื้นถิ่นของทัมลิงตาร์ตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น เช่น สถาปนิก นักวางแผน และนักออกแบบ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาที่พักในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อไปen_US
dc.languageEngen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.titleเกณฑ์การออกแบบที่พักอาศัย สำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในทัมลิงตาร์ ประเทศเนปาลen_US
dc.title.alternativeAccommodation design consideration for ecotourism in Tumlingtar, Nepalen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.volume4en_US
article.stream.affiliationsคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.