Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64619
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปาริชาต ยงพิศาลภพ | en_US |
dc.contributor.author | สมใจ กาญจนวงศ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:16Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:16Z | - |
dc.date.issued | 2550 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-2178 | en_US |
dc.identifier.uri | http://e-faclib.lib.cmu.ac.th/e-faclib/data/eng/2009/4/22/2%BB%D2%C3%D4%AA%D2%B5.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64619 | - |
dc.description | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดดินที่ใช้ในการถมกลบที่มีต่อลักษณะของน้ำชะขยะจากการฝังกลบ ทำการศึกษาขนาดห้องปฏิบัติการ ดินที่ใช้ในการทดลองมี 3 ชนิด คือ ดินร่วนปนดินทราย ดินร่วนปนดินตะกอน และดินเหนียว ใช้ในถังจำลอง MSDL, MSTLและ MC ตามลำดับ ส่วนถัง M ไม่บรรจุดินถมกลบขยะ เพื่อใช้เปรียบเทียบ ถังจำลองเป็นท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.15 ม. สูง 3.00 ม. จำนวน 4 ถัง แต่ละถังบรรจุขยะสังเคราะห์ตามลักษณะของขยะเทศบาลนครเชียงใหม่จำนวน 2 ชั้น ชั้นละ 1 ม. ความหนาแน่นในการบรรจุขยะ 600 กก./ลบ.ม. ทำการบรรจุดินระหว่างชั้นขยะเป็นดินชั้นกลางหนา 0.15 ม. และดินถมกลบด้านบนหนา 0.30 ม. ระหว่างการทดลองทำการเติมน้ำลงในถังจำลองร้อยละ 50 ของปริมาณน้ำฝนที่ตกจริง โดยทำการจำลองในช่วงฤดูฝน ใช้ปริมาณน้ำฝนจริงของจังหวัดเชียงใหม่ ปีพ.ศ. 2547 วัดปริมาณน้ำชะขยะทุกวันวันละ 1 ครั้ง และวิเคราะห์ลักษณะสมบัติน้ำชะขยะสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือนผลการทดลองพบว่าปริมาณน้ำชะขยะสะสมจากถังจำลอง M มีปริมาณน้ำชะขยะสะสมเกิดขึ้นมากที่สุด ปริมาณมลสารสะสมเกือบทั้งหมดของน้ำชะขยะต่อน้ำหนักขยะแห้งเริ่มต้นจากถังจำลองM มีค่าสูงที่สุดในหลายพารามิเตอร์ ได้แก่ ของแข็งทั้งหมด ของแข็งระเหยง่ายทั้งหมด ความเป็นด่างรวมความเป็นกรด ซีโอดี บีโอดี ทีเคเอ็นแอมโมเนียไนโตรเจนสารอินทรีย์ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสรวม เมื่อทำการเปรียบเทียบมลสารสะสมของน้ำชะขยะจากถังจำลอง MSDL, MSTL และMC ซึ่งใช้ดินในการถมกลบ พบว่า ปริมาณมลสารสะสมของน้ำชะขยะจากถังจำลอง MSDL มีค่าน้อยที่สุดในหลายพารามิเตอร์ ได้แก่ ของแข็งทั้งหมด ของแข็งระเหยง่ายทั้งหมด ความเป็นด่างรวม กรดไขมันระเหยง่าย ซีโอดี บีโอดี และสารอินทรีย์ไนโตรเจน ปริมาณมลสารสะสมของน้ำชะขยะจากถังจำลอง MSTL มีค่าน้อยที่สุด ได้แก่ ทีเคเอ็น ค่าแอมโมเนียไนโตรเจน ปริมาณมลสารสะสมของน้ำชะขยะจากถังจำลอง MC มีค่าน้อยที่สุด ได้แก่ ความเป็นกรด ฟอสฟอรัสรวมผลสรุปแสดงให้เห็นว่าการใช้ดินร่วนปนทรายเป็นดินถมกลบในหลุมฝังกลบขยะมีความเหมาะสมมากที่สุด | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.title | ผลกระทบของชนิดดินปกคลุมต่อลักษณะของน้ำชะขยะจากแบบจำลองการฝังกลบ | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Soil Cover Type on Characteristics of Leachate Generated from Landfill Lysimeter | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
article.volume | 14 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.