Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64618
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชัยพล จันทะวังen_US
dc.contributor.authorสมใจ กาญจนวงศ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:16Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:16Z-
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.issn0857-2178en_US
dc.identifier.urihttp://e-faclib.lib.cmu.ac.th/e-faclib/data/eng/2009/4/22/1%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A5.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64618-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของก๊าซและน้ำชะขยะจากแบบจำลองการฝังกลบขยะที่ผ่านการบำบัดขยะเบื้องต้นแบบหมักใช้อากาศที่มีอัตราชะล้างต่าง ๆ เปรียบเทียบกับการฝังกลบขยะที่ไม่ได้ผ่านการบำบัดขั้นต้นโดยวิธีการหมักที่มีการชะล้างเป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยในสัปดาห์แรกมีการชะล้างกองหมักที่อัตรา 0.0, 0.2, 0.5 และ 1.0ล./กก.ขยะ-ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง จากนั้นทำการศึกษาการเกิดก๊าซและน้ำชะขยะจากขยะที่ผ่านการบำบัดขั้นต้นดังกล่าวเปรียบเทียบกับขยะสด โดยนำขยะมาฝังกลบในถังจำลองจำนวน 5 ใบ เป็นเวลา 4 เดือน และทำการวัดปริมาณ และวิเคราะห์องค์ประกอบ ลักษณะของก๊าซและน้ำชะขยะที่เกิดขึ้น ผลการศึกษา พบว่าน้ำจากการชะล้างกองหมักมีค่าความเข้มข้นของมลสารต่างๆ ลดลงแปรผันตรงกับจำนวนครั้งของการชะล้างและปริมาณน้ำที่ใช้ชะล้าง และการชะล้างกองหมักที่มีอัตราการชะล้าง 1.0 ล./กก.ขยะ-ครั้ง มีค่าปริมาณมลสารสะสมของทุกพารามิเตอร์สูงกว่ากองหมักอื่น ๆ ผลการศึกษาการจำลองการฝังกลบขยะพบว่าก๊าซซึ่งเกิดจากถังจำลองที่มีอัตราการชะล้าง 1.0 ล./กก.ขยะ-ครั้ง มีปริมาณมากที่สุด และถังจำลองขยะที่ไม่ผ่านการบำบัดขั้นต้นนั้น เกิดก๊าซมีเทนขึ้นช้ากว่าถังที่บรรจุขยะที่ผ่านการบำบัดขั้นต้น ส่วนลักษณะน้ำชะขยะจากถังจำลองขยะที่ผ่านการบำบัดขั้นต้นเปรียบเทียบกับน้ำชะจากถังจำลองขยะที่ไม่ผ่านการบำบัดขั้นต้นนั้น ค่าบีโอดีเฉลี่ยของน้ำชะขยะจากถังที่ฝังกลบขยะที่ผ่านการบำบัดขั้นต้นมีค่าต่ำกว่าน้ำชะขยะที่เกิดจากถังที่ไม่ผ่านการบำบัดขั้นต้นร้อยละ 94 ค่าซีโอดีเฉลี่ยมีค่าต่ำกว่าร้อยละ 94ค่าแอมโมเนียไนโตรเจนเฉลี่ยมีค่าต่ำกว่าร้อยละ 89 ค่าสารอินทรีย์ไนโตรเจนเฉลี่ยมีค่าต่ำกว่าร้อยละ 93 ค่าความเป็นด่าง รวมเฉลี่ยมีค่าต่ำกว่าร้อยละ 85 และค่ากรดไขมันระเหยง่ายเฉลี่ยมีค่าต่ำกว่าร้อยละ 91en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการวิเคราะห์ก๊าซและน้ำชะขยะจากแบบจำลองการฝังกลบ ซึ่งบรรจุขยะที่ผ่านการชะล้างและหมักแบบใช้อากาศen_US
dc.title.alternativeGas and Leachate Analysis from Solid Waste Landfill Lysimeter, Filled with Flushed and Aerobically Composted Wasteen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
article.volume14en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.