Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64611
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธวัชชัย อุ่นใจจมen_US
dc.contributor.authorธงชัย ฟองสมุทรen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:15Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:15Z-
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.issn0857-2178en_US
dc.identifier.urihttp://e-faclib.lib.cmu.ac.th/e-faclib/data/eng/2009/4/23/3%B8%C7%D1%AA%AA%D1%C2.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64611-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractจุดประสงค์ของงานวิจัยนี้คือศึกษาผลของทิศทางและจำนวนของการยึดสกรูต่อการกระจายของความเค้นในกระดูกต้นขาของคนและแผ่นดามโดยวิธีทางไฟไนต์เอลิเมนต์ รูปแบบการยึดสกรูที่ใช้ในงานวิจัยนี้มี 4 รูปแบบ ได้แก่ (1)สกรูมีทิศทางตั้งฉากกับแผ่นดามกระดูก (2) สกรูมีทิศทางไปทางเดียวกัน (สกรูทั้งหมดทำมุม 45 องศา กับแนวระดับของแผ่นดามกระดูก) (3) สกรูมีทิศทางแยกออกจากกัน (สกรูครึ่งบนของแผ่นดามกระดูกทำมุม 45 องศา กับแนวระดับของแผ่นดามกระดูกและยึดสกรูครึ่งล่างของแผ่นดามกระดูกทำมุม 135 องศา กับแนวระดับของแผ่นดามกระดูก) และ (4)สกรูมีทิศทางเข้าหากัน (สกรูครึ่งบนของแผ่นดามกระดูกทำมุม 135 องศา กับแนวระดับของแผ่นดามกระดูกและยึดสกรูครึ่งล่างของแผ่นดามกระดูกทำมุม 45 องศา กับแนวระดับของแผ่นดามกระดูก) แต่ละรูปแบบใช้สกรูในการยึดจำนวน 4 ตัว 6 ตัว และ 8 ตัว ตามลำดับ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์แบบจำลองทางไฟไนต์เอลิเมนต์แสดงให้เห็นว่า เมื่อยึดสกรูให้มีทิศทางตั้งฉากกับแผ่นดามกระดูกและให้มีทิศทางเข้าหากัน ค่าความเค้นมีแนวโน้มที่จะลดลงเมื่อสกรูมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนการยึดสกรูให้มีทิศทางไปทางเดียวกันและให้มีทิศทางแยกออกจากกัน ค่าความเค้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อจำนวนของสกรูเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ผลที่ได้ยังแสดงให้เห็นว่าในกรณีที่ใช้การยึดสกรูจำนวน 4 ตัว ให้มีทิศทางตั้งฉากกับแผ่นดามกระดูก จะสามารถทนแรงดึงได้ดีและปลอดภัยกว่ารูปแบบอื่น ส่วนในกรณีที่ใช้การยึดสกรูจำนวน 6 ตัว ให้มีทิศทางแยกออกจากกัน จะสามารถทนแรงดึงได้ดีและปลอดภัยกว่ารูปแบบอื่น และในกรณีที่ใช้การยึดสกรูจำนวน 8 ตัว ให้มีทิศทางไปทางเดียวกัน จะสามารถทนแรงดึงได้ดีและปลอดภัยกว่ารูปแบบอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกันen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.titleผลของทิศทางและจำนวนของการยึดสกรูต่อการกระจายของ ความเค้นในกระดูกต้นขาของคนและแผ่นดามen_US
dc.title.alternativeEffects of Direction and Number of the Screw Fixation on Stress Distribution in Human Femur and Attached Plateen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิศวกรรมศาสตร์en_US
article.volume14en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.