Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64608
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพัชรียา คำดีen_US
dc.contributor.authorเกรียงไกร เกิดศิริen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:15Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:15Z-
dc.date.issued2017en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/99818/77540en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64608-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractเรือนแถวและตึกแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ของตัวเมืองพิมาย ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าในเขตกำแพงเมืองชั้นในของเมืองพิมาย ทำเลดังกล่าวทำหน้าที่เป็นย่านการค้ามาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งปรากฏหลักฐานเป็นอโรคยาศาล เป็นที่พักของนักเดินทางที่ใช้ติดต่อค้าขายระหว่างเมืองพระนครและเมืองแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่งผลให้พิมายมีความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนา สถาปัตยกรรม และเศรษฐกิจของเมืองโดยปรากฏหลักฐานเป็นปราสาทหินพิมายที่คงอยู่จนถึงปัจจุบัน ช่วงรัตนโกสินทร์ย่านการค้าพิมายนั้น เจริญด้วยภูมิประเทศที่เหมาะสมอยู่ใกล้ลำน้ำมูล ซึ่งเป็นเส้นทางค้าขายสินค้าทางเรือระหว่างภาคอีสานไปยังกรุงเทพฯ จึงส่งผลให้เมืองพิมายเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจการค้าที่เจริญรุ่งเรือง และย่านการค้าของเมืองพิมายนี้ ยังทำหน้าที่เรื่อยมาจนมีการปลูกสร้างอาคารแถวเพื่อทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยและค้าขาย โดยในระยะแรกเท่าที่ปรากฏหลักฐานนั้นเป็นอาคารปลูกสร้างด้วยไม้ ในที่นี้จึงเรียก “เรือนแถวไม้พื้นถิ่น” ต่อมามีการสร้าง “ตึกแถวพื้นถิ่น” ที่มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐ โดยการก่ออิฐขึ้นรูปอาคาร โดยมีความสัมพันธ์กับบริบทแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ผลกระทบจากการสร้างรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมาเมื่อ พ.ศ.2443ได้นำมาซึ่งวัสดุจำพวกเหล็ก สังกะสี ส่งผลให้มีการนำวัสดุสมัยใหม่เข้ามาใช้ร่วมกันกับเรือนแถวไม้ และในช่วง พ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะปราสาทหินพิมาย ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผังเมืองพิมาย เนื่องจากมีการย้ายตลาดสดและที่ว่าการอำเภอออกจากบริเวณเดิมเพื่อทำการบูรณะปราสาทหินพิมาย และมีการตัดถนนจากนครราชสีมาเข้าสู่ตัวเมืองพิมาย ทำให้การคมนาคมทางน้ำได้ลดบทบาทลงและพร้อมกับการเข้ามาของวัสดุจำพวกปูนซีเมนต์ที่มีให้ใช้มากขึ้น ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนี้มีความนิยมในการก่อสร้างอาคารแถวรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “ตึกแถวสมัยใหม่ระยะต้น” ที่แสดงนัยยะของความทันสมัยตามแนวคิดของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งยังคงส่งผลถึงรูปแบบตึกแถวในปัจจุบันen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.titleเรือนแถวและตึกแถวในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์พิมายen_US
dc.title.alternativeRow houses and buildings in Phimai historic urban landscapeen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.volume4en_US
article.stream.affiliationsคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.