Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64600
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorองุ่นทิพย์ ศรีสุวรรณen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:15Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:15Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/73087/63005en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64600-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสารเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆ ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันโดยเผยแพร่ผ่านเล่มวารสาร (ISSN : 2392-5477) และหน้าเว็บ (ISSN : 2351-0935) ในรูปแบบ e-Journalen_US
dc.description.abstractพื้นที่สาธารณะในเมืองเป็นพื้นที่ที่เกิดกิจกรรมของผู้คนอย่างหลากหลาย โดยเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความมีชีวิตชีวาของเมือง ซึ่งนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา พื้นที่สาธารณะของเมืองได้มีการประดับประดาด้วยแสงประดิษฐ์ในเวลากลางคืนที่ทำให้เมืองสามารถใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น การส่องสว่างพื้นที่สาธารณะในเวลากลางคืน ทำให้เกิดการสอดส่องที่ช่วยเพิ่มความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้สามารถระบุถึงคุณลักษณะของสิ่งของได้อย่างถูกต้อง และยังช่วยทำให้ผู้ใช้งานพื้นที่สามารถรับรู้ถึงทิศทาง ตำแหน่งแห่งหนของสถานที่นั้นๆ ได้ อย่างไรก็ตามพื้นที่สาธารณะของเมืองหรือข่วงของเมืองเชียงใหม่มีกำเนิดและหน้าที่ใช้สอยที่แตกต่างกันไป การส่องสว่างตลอดเวลาของพื้นที่อาจส่งผลต่อหน้าที่ใช้สอย เอกลักษณ์ และคุณค่าของพื้นที่สาธารณะ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจลักษณะทางกายภาพ พื้นที่สาธารณะของเมืองเชียงใหม่ ตรวจสอบหน้าที่ใช้สอย ตลอดจนศึกษารูปแบบของการส่องสว่างที่ส่งผลต่อการใช้งาน และความสัมพันธ์ของการส่องสว่างกับอรรถประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนและออกแบบเมืองเชียงใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในเมืองได้อย่างยั่งยืน การศึกษาทำการเก็บข้อมูลภาคสนาม วัดสภาพการส่องสว่างในพื้นที่สาธารณะของเมืองเชียงใหม่ และจัดทำแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่สาธารณะของเมืองเชียงใหม่ยังคงแนวคิดประโยชน์ใช้สอยเหมือนเมื่อเริ่มเกิดขึ้นของพื้นที่สาธารณะนั้นแต่บางแห่งปรับเปลี่ยนบทบาทไปตามกลุ่มผู้ใช้งาน และกิจกรรมของย่าน ซึ่งสะท้อนถึงความเปราะบางในการยึดโยงความสัมพันธ์ภายในชุมชน โดยมีแสงประดิษฐ์ในเวลากลางคืนช่วยสร้างบรรยากาศของความปลอดภัยต่ออาชญากรรมในความรู้สึกของประชาชน อีกทั้งแสงสว่างยังทำให้พื้นที่สาธารณะได้แสดงออกถึงตัวตนทางวัฒนธรรม และเอื้อต่อการปรากฏตัวของสถาปัตยกรรมในบริเวณโดยรอบพื้นที่สาธารณะสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชาวเมือง ดังนั้นแสงสว่างในพื้นที่สาธารณะของเมืองเชียงใหม่ จึงตอบสนองความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และเชื่อมโยงรากเหง้าของวัฒนธรรมในอดีตกับปัจจุบันไปในขณะเดียวกันen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการใช้งานและการส่องสว่างในพื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeUses and Illumination in public spaces in Chiang Mai Cityen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.volume3en_US
article.stream.affiliationsคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.