Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64599
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุธี เมฆบุญส่งลาภen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:15Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:15Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/73084/63004en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64599-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสารเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆ ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันโดยเผยแพร่ผ่านเล่มวารสาร (ISSN : 2392-5477) และหน้าเว็บ (ISSN : 2351-0935) ในรูปแบบ e-Journalen_US
dc.description.abstractการศึกษาด้านประวัติศาสตร์พื้นที่ย่านหนองระบู ตำบลเวียง อำเภอเมือง พะเยา สามารถแบ่งช่วงเวลาตามเหตุการณ์สำคัญเป็น 6 ยุคสมัย ได้แก่ 1) ยุคก่อตั้งเมืองภูกามยาวหรือพยาว (พ.ศ. 1639-1877) 2) ยุคเจ้าสี่หมื่นปกครองเมืองพะเยา-อาณาจักรล้านนา (พ.ศ. 1877-2101) 3) ยุคประเทศราชล้านนา-อาณาจักรพม่าหงสาวดี (พ.ศ. 2101-2317) 4) ยุคฟื้นฟูเมืองพะเยา-เจ้าหลวงเมืองพะเยา-อาณาจักรสยามรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2386-2445) 5) ยุคสยามปฏิรูปการปกครองล้านนา (พ.ศ. 2445-2457) และ 6) ยุคหลังเจ้าหลวงเมืองพะเยาองค์สุดท้าย-ปัจจุบัน (พ.ศ. 2457-2559) ซึ่งในการศึกษาในเชิงลึกจากตัวอย่างอาคาร 27 หลัง จาก 10 กลุ่มประเภทรูปแบบทางสถาปัตยกรรม พบว่ารูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่ปรากฏภายในย่านสามารถอธิบายประวัติศาสตร์พื้นที่ของย่านได้เก่าแก่ที่สุดในยุคฟื้นฟูเมืองพะเยา และรูปแบบอาคารที่ถูกประเมินจากผู้ให้สัมภาษณ์ว่ามีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์และสามารถเป็นตัวแทนรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของย่านได้แก่ อาคารประเภทเรือนร้านค้าสองชั้นหลังคาทรงปั้นหยาหรือมนิลา อาคารประเภทเรือนร้านค้าสองชั้นก่อนยุค modern และอาคารประเภทโรงสีข้าว และพบว่าคนในชุมชนที่อยู่ในช่วงอายุ 61-70 ปีมีศักยภาพมากที่สุดในการบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แก่คนในชุมชน แนวทางในการสร้างการตระหนักรู้ในด้านประวัติศาสตร์พื้นที่แก่คนในชุมชนย่านหนองระบูเน้นไปที่การมองเห็นซึ่งเป็นกระบวนการขั้นแรกของการตระหนักรู้ โดยใช้เครื่องมือ 3 ส่วนประกอบกัน ได้แก่ แผนที่แสดงขอบเขตย่าน ตำแหน่งของอาคารที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแต่ละประเภท ภาพถ่ายในอดีตที่พิมพ์ให้มีขนาดใหญ่ ติดตั้งบนระนาบของอาคาร และสื่อวีดีทัศน์บอกเล่าประวัติศาสตร์พื้นที่ซึ่งอธิบายยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ โดยมีกลไกหลักในการสร้างการตระหนักรู้ในด้านประวัติศาสตร์พื้นที่แก่คนในชุมชน คือ ผู้สูงอายุ ในชุมชนซึ่งมีประสบการณ์ร่วมกับเรื่องราวประวัติศาสตร์ของย่าน และเป็นการสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างคนต่างวัยในชุมชนและคนในชุมชนกับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการสร้างการตระหนักในด้านประวัติศาสตร์พื้นที่แก่คนในชุมชนย่านหนองระบู ตำบลเวียง อำเภอเมือง พะเยาen_US
dc.title.alternativeBuilding up historical awareness for communities in Nhong Rabu, Tambon Wieng, Amphur Muang, Phayaoen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.volume3en_US
article.stream.affiliationsคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.