Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64594
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กิตติกุล ศิริเมืองมูล | en_US |
dc.contributor.author | เชาวลิต สัยเจริญ | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:14Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:14Z | - |
dc.date.issued | 2016 | en_US |
dc.identifier.issn | 2351-0935 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/68487/63016 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64594 | - |
dc.description | วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบัน | en_US |
dc.description.abstract | บทความนี้มุ่งศึกษาในประเด็นความเชื่อกับการจัดระเบียบที่ว่างของเรือนกะเหรี่ยงในหมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะเรือนพื้นถิ่นชาวกะเหรี่ยงพระบาทห้วยต้ม ศึกษาความเชื่อที่มีผลต่อรูปแบบการจัดระเบียบที่ว่างในระดับหมู่บ้านและเรือน ตลอดจนสามารถอภิปรายถึงการปรับเปลี่ยนของความเชื่อและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะท้อนออกมาในรูปแบบการจัดระเบียบที่ว่างของเรือนพื้นถิ่นชาวกะเหรี่ยงพระบาทห้วยต้ม ผลการวิจัยพบว่าเรือนกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น โดยสะท้อนออกมาสู่รูปทรง ขนาด สัดส่วน พื้นที่ใช้สอยและวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้แฝงด้วยความเชื่อและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง ส่วนความเชื่อที่มีผลต่อรูปแบบการจัดระเบียบที่ว่างในระดับหมู่บ้านคือ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาผู้เผยแผ่พุทธศาสนาให้ชาวกะเหรี่ยงจนพวกเขาเหล่านี้เลื่อมใสศรัทธาจนอพยพติดตามมาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านเรือนด้วย การมีใจบ้านภายในหมู่บ้านเพื่อเป็นที่ประทับของผีเจ้าที่เจ้าทาง ปกป้องชาวบ้านให้อยู่รอดปลอดภัย รวมถึงความเชื่อและภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีความสำคัญกับพื้นที่หมู่บ้านคือ การสืบชะตาขุนห้วย การทำบุญป่า การเลี้ยงผีไร่-ผีนา ส่วนในระดับเรือนยังคงเหลือความเชื่อแบบดั้งเดิมอยู่คือ การทำบุญแม่เตาไฟ การลงเสาเอกบริเวณเกือบกึ่งกลางเรือน ความเชื่อที่มาจากพุทธศาสนาจะเห็นเด่นชัดทุกเรือนคือ การมีหิ้งพระภายในเรือน การหันหน้าเรือนไปทางวัด การหันหัวนอนไปทางทิศตะวันออก นอกจากนั้นกระแสความทันสมัยที่ได้เข้ามาภายในหมู่บ้านเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความเชื่อกับรูปแบบตัวเรือน พื้นที่ใช้สอยภายในเรือนเกิดการเปลี่ยนแปลง | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.title | ความเชื่อกับการจัดระเบียบที่ว่างของเรือนกะเหรี่ยงในหมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน | en_US |
dc.title.alternative | Beliefs and Spatial Organization of Karen Houses in Prabaht-Huaytom Village, Nasai Sub-district, Li District, Lumphun Province | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
article.volume | 3 | en_US |
article.stream.affiliations | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
article.stream.affiliations | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.