Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64592
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorChhorvy Khaten_US
dc.contributor.authorองุ่นทิพย์ ศรีสุวรรณen_US
dc.contributor.authorยศธนา คุณาธรen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:14Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:14Z-
dc.date.issued2015en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/68350/55657en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64592-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงพฤติการณ์ของระบบผนังแบบทรอมบ์ เพื่อใช้ในการปรับปรุง การระบายอากาศภายในอาคารตึกแถวในกรุงพนมเปญ ด้วยการติดตั้งผนังแบบทรอมบ์บริเวณช่องบันไดที่ ชั้นบนสุดของอาคาร โดยผนังแบบทรอมบ์หันหน้าไปทางทิศใต้หรือทิศตะวันตก ทั้งนี้การศึกษาได้ทำการ ศึกษาคุณลักษณะการไหลและสมรรถนะของผนังแบบทรอมบ์ ในปัจจัยของความเร็วลม อุณหภูมิ และ ปริมาณการไหลของมวลอากาศ ตั้งแต่เริ่มต้นการทดลองจนถึงภาวะเสถียรของปรากฏการณ์ โดยใช้เครื่อง มือโปรแกรมพลศาสตร์ของไหลเชิงคณนา (CFD program) ผลการศึกษาพบว่า ที่ปริมาณความร้อนต่อหน่วย พื้นที่ (heat flux) 200 วัตต์ต่อตารางเมตร, 400 วัตต์ต่อตารางเมตร, 600 วัตต์ต่อตารางเมตร 800 วัตต์ ต่อตารางเมตร และ 1000 วัตต์ต่อตารางเมตร ผนังแบบทรอมบ์ก่อให้เกิดการไหลเวียนของอากาศที่ความเร็ว เฉลี่ย 0.14 เมตรต่อวินาที 0.19 เมตรต่อวินาที 0.22 เมตรต่อวินาที 0.26 เมตรต่อวินาที และ 0.28 เมตร ต่อวินาที ตามลำดับ และผนังแบบทรอมบ์มีศักยภาพในการทำให้เกิดความเร็วลมที่จะทำให้เกิดภาวะน่า สบายตั้งแต่ปริมาณความร้อนต่อหน่วยพื้นที่ 600 วัตต์ต่อตารางเมตรขึ้นไป นอกจากนี้ผลการศึกษา ยังพบว่าอุณหภูมิในช่องผนังแบบทรอมบ์เมื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิที่ กระจกและผนังเมื่อเริ่มแรกทำการทดลองในภาวะเสถียรมีค่าลดลง ตั้งแต่ 4 องศาเคลวิน ถึง 33 องศาเคลิน อันเป็นผลมาจากการแทนที่ของอากาศเย็นจากช่องอากาศเข้า (inlet) ของระบบ อัตราการไหลเวียน มวลอากาศสูงสุดที่ช่องทางเข้าของผนังแบบทรอมบ์ มีค่าแปรผันโดยประมาณระหว่าง 0.06 กิโลกรัมต่อวินาที ถึง 0.115 กิโลกรัมต่อวินาที ที่ปริมาณความร้อนต่อหน่วยพื้นที่ ตั้งแต่ 200 วัตต์ต่อตารางเมตร ถึง 1000 วัตต์ต่อตารางเมตร ผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่ดีในการประยุกต์ใช้ผนังแบบทรอมบ์ใน ตึกแถวเพื่อช่วยการไหลเวียนของอากาศภายในอาคาร โดยยังคงมีประเด็นที่ควรศึกษาต่อเพื่อพัฒนาระบบ ในประเด็นของขนาดของระบบผนังแบบทรอมบ์ ปริมาตรของห้องเป้าหมาย และระยะทางระหว่างพื้นที่เป้า หมายกับระบบผนังแบบทรอมบ์en_US
dc.languageEngen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.titleสมรรถนะผนังแบบทรอมบ์ กรณีศึกษาของตึกแถวในกรุงพนมเปญen_US
dc.title.alternativeTrombe Wall Performance in Case of Phnom Penh Row Houseen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.volume2en_US
article.stream.affiliationsFaculty of Architecture, Chiang Mai Universityen_US
article.stream.affiliationsDepartment of Mechanical Engineering, Faculty of Engineering, Chiang Mai Universityen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.