Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64589
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorยุทธนา โจมการen_US
dc.contributor.authorสุพักตรา สุทธสุภาen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:14Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:14Z-
dc.date.issued2015en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/68362/55669en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64589-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการใช้พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว (2) ประเมินความพึงพอใจการใช้งานด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว (3) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสามแห่ง ได้แก่ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สนามหน้าเมือง และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) เป็นพื้นที่วิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มี 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มตัวอย่างประชาชนในพื้นที่ จำนวน 99 คน กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว จำนวน 69 คน และ (3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยว จำนวน 4 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจและสังเกตการณ์ และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการใช้พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวใน 3 พื้นที่มีลักษณะแตกต่างกันตามลักษณะของประเภทของแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประเภทโบราณสถานและประวัติศาสตร์ กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจึงเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้เน้นด้านการออกกำลังกาย ส่วนสนามหน้าเมืองและสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประเภทสวนสาธารณะ กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จึงมีทั้งกิจกรรมที่เน้นด้านการออกกำลังกายและไม่ออกกำลังกาย ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวพบว่า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x_ = 3.64) ส่วนสนามหน้าเมืองและสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x_ = 3.26 และ 2.92 ตามลำดับ) เสนอแนะให้พื้นที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารควรมีการจัดระเบียบร้านค้า หาบเร่ แผงลอยเพื่อความเป็นระเบียบในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ส่วนสนามหน้าเมืองและสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) ควรมีการปรับปรุงด้านมาตรการการรักษาความสะอาดของพื้นที่ ซึ่งทั้งสามพื้นที่ควรมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวให้มีความสวยงามด้วยen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการประเมินการใช้พื้นที่แห่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช: กรณ๊ศึกษาวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สนามหน้าเมืองและสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด)en_US
dc.title.alternativeThe Evaluation on Touristic Area in Nakhon Nakhon Si Thammarat Municipality: A Case Study of Phramahathat Woramahawihan Temple, Na Mueang Park and Thalad Parken_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.volume2en_US
article.stream.affiliationsการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
article.stream.affiliationsภาควิชาการออกแบบและการวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.