Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64586
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเบญจรงค์ ทุมปัดชาen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:14Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:14Z-
dc.date.issued2015en_US
dc.identifier.issn2351-0935en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/68351/63019en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64586-
dc.descriptionวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบันen_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทฤษฎี หลักการ และแนวคิดการพัฒนาควบคู่กับการอนุรักษ์ เมือง 2) ศึกษาเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านสิงห์ท่าในประเด็นทางกายภาพ สังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ 3) เสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมคุณค่าของย่านพาณิชยกรรมเก่าชุมชน บ้านสิงห์ท่า การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ สังเกต และบันทึกภาพลักษณะทางกายภาพของย่านพาณิชยกรรมเก่าชุมชนบ้านสิงห์ท่าและสภาพแวดล้อมโดยรอบ รวมถึงการพูดคุยสัมภาษณ์สมาชิกของชุมชน ตลอด จนนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษาพบว่าย่าน พาณิชยกรรมเก่าชุมชนบ้านสิงห์ท่ามีการก่อร่างสร้างตัวมาเป็นระยะเวลานานกว่า 200 ปี เคยมีความเจริญ รุ่งเรืองและมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ ซึ่งการเข้ามาอยู่อาศัยของต่างชาติทำให้เกิดการผสมผสานทาง วัฒนธรรม ศิลปะ และสถาปัตยกรรมในย่านพาณิชยกรรมเก่านั้น อาคารส่วนใหญ่ยังคงมีการใช้งานต่อเนื่องมา จนกระทั่งปัจจุบัน มีเพียงอาคารบางกลุ่มที่เก่าและทรุดโทรมซึ่งส่วนมากเป็นอาคารไม้และดินที่ผุพังและได้รื้อสร้างใหม่ในรูปแบบตามยุคสมัยปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการรื้อสร้างใหม่หรือการต่อเติมซ่อมแซมอาคารโดยที่ไม่มี การเสนอแนะและควบคุมให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับย่านชุมชนเก่านั้นไม่เพียงแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้รูป แบบสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์และทรงคุณค่าสูญสลายไปเท่านั้น หากยังจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพโดยรวมของย่านพาณิชยกรรมเก่าอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าย่านพาณิชยกรรมเก่าบ้านสิงห์ท่ามี สภาพแวดล้อมของชุมชนที่เงียบสงบ ประชาชนมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบสังคมครอบครัว การค้าขายใน ชุมชนมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น และผู้คนสามารถสืบต่อเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของย่านจากการบอกเล่าได้ อย่างชัดเจน จากมิติทางกายภาพและมิติทางสังคมของชุมชน ทำให้เป็นพื้นที่แห่งนี้มีเอกลักษณ์มีคุณค่า สมควร อนุรักษ์และพัฒนาให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ โดยการสร้างความ ชัดเจนทางกายภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของย่านพาณิชยกรรมเก่าชุมชนบ้านสิงห์ท่า สร้างการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการพัฒนาและการบริหารจัดการ การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำผังแม่บทที่สอดคล้องกับ ภาพลักษณ์และบริบทของชุมชน การบริหารจัดการพื้นที่โดยสำนักงานเทศบาลเมืองยโสธร ต้องสามารถโยง ความสำคัญของพื้นที่สู่แผนพัฒนาอย่างเหมาะสมen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.titleการอนุรักษ์และพัฒนาย่านพาณิชกรรมเก่า ชุมชนบ้านสิงห์ท่า อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธรen_US
dc.title.alternativeThe Conservation and Development of Old Commercial Area of Ban Singtha, Yasothornen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
article.volume2en_US
article.stream.affiliationsสาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.