Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64564
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ภาณุวัชร อุปถัมภานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | ณัฐพล จิตมาตย์ | en_US |
dc.contributor.author | ทิมทอง ดรุณสนธยา | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:13Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:13Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00140_C01107.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64564 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | ดินเนื้อปูนเป็นทรัพยากรดินที่สำคัญสำหรับการผลิตพืชเศรษฐกิจในประเทศไทย ระบบการจำแนกสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินเนื้อปูนสามารถบ่งชี้ถึงสถานะความอุดมสมบูรณ์ และข้อจำกัดที่สำคัญของดิน เพื่อการจัดการดินได้อย่างเหมาะสม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สมบัติของดินและจำแนกสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินเนื้อปูนตัวแทน จำนวน 5 บริเวณ ในจังหวัดลพบุรี และ นครสวรรค์ การศึกษาประกอบด้วย การทำคำอธิบายสัณฐานวิทยาของดิน และการวิเคราะห์ตัวอย่างดินทางฟิสิกส์-เคมี ตามวิธีมาตรฐาน และประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน และจำแนกสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลการศึกษา พบว่า ดินส่วนใหญ่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีพีเอชเป็นด่างจัด และมีสมบัติด้านการแลกเปลี่ยนประจุสูง แต่มีสถานภาพด้านธาตุอาหาร คือ ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่ำ ธาตุสังกะสีและธาตุทองแดงอยู่ในระดับที่ต่ำซึ่งเป็นข้อจำกัดหลักด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินเหล่านี้ ผลการประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ แสดงให้เห็นว่า ดินเนื้อปูนมีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง และจากชั้นสมรรถนะของดิน พบว่า ดินมีข้อจำกัดที่สำคัญคือ ดินมีแร่ดินเหนียวที่ยืดหดตัวสูง (v) ดินเป็นด่างจัด (b) และมีธาตุโพแทสเซียมสำรองต่ำ (k) และดินเป็นด่างจัดทำให้ฟอสฟอรัสและธาตุอาหารเสริม โดยเฉพาะธาตุสังกะสีละลายได้น้อยและไม่เป็นประโยชน์สำหรับพืช ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่สำคัญอันดับแรกในการจัดการดินเนื้อปูนของประเทศไทย | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | สมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินเนื้อปูนในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | สมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินเนื้อปูนในประเทศไทย | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 34 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.