Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64552
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชลธี แก้วคต | en_US |
dc.contributor.author | เจษฎา เรืองสุริยะ | en_US |
dc.contributor.author | สัญชัย จตุรสิทธา | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:13Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:13Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00139_C01095.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64552 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาผสมข้ามพันธุ์ของไก่พื้นเมืองไทยกับไก่พันธุ์ไข่เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อเมื่อเทียบกับชนิดไก่พันธุ์แท้และไก่เนื้อในเชิงพาณิชย์ ใช้ไก่อายุ 1 วันทั้งหมด 200 ตัว พันธุ์ละ 50 ตัว คือ พันธุ์พื้นเมืองไทย (PA) พันธุ์โรดไอแลนด์เรด (RR) พันธุ์ลูกผสม (CB = PA × RR) และไก่เนื้อ (Ross; BR) โดยแบ่งเป็น 20 คอก คอกละ 10 ตัว ไก่จะถูกฆ่าเมื่อมีอายุครบ 120 วัน (PA, CB และ RR) หรือ 45 วันสำหรับไก่เนื้อ (BR) น้ำหนักมีชีวิต น้ำหนักซากและปริมาณกล้ามเนื้ออกมีปริมาณสูงที่สุดในไก่พันธุ์ BR และและมีปริมาณต่ำสุดในกลุ่ม PA และ RR (P<0.05) และระดับปานกลางสำหรับไก่พันธุ์ CB ไก่พันธุ์ PA, CB และ RR มีสัดส่วนของกล้ามเนื้อขา สูงกว่าไก่พันธุ์ BR (P<0.05) ไก่พันธุ์ RR มีไขมันช่องท้องที่สูงที่สุด (P<0.05) กล้ามเนื้ออกไก่พันธุ์ PA และ CB มีค่า a* สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับไก่พันธุ์ RR และ BR แต่มีค่า L* และ b* ที่ต่ำ กล้ามเนื้ออกของไก่พันธุ์ BR มีไขมันแทรกกล้ามเนื้อสูงที่สุดขณะที่ปริมาณโปรตีนของไก่พันธุ์ PA, CB และ RR มีปริมาณมากกว่าไก่พันธุ์ BR (P<0.05) กล้ามเนื้ออกไก่ BR มีค่า drip loss สูงที่สุด (P<0.05) ขณะที่มีค่า shear force ต่ำสุดเมื่อเทียบกับไก่พันธุ์ PA, CB และ RR (P<0.05) ค่า malondialdehyde มีค่าสูงสุด (P<0.05) มีค่าสูงสุดในไก่พันธุ์ BR เทียบกับไก่พันธุ์ RR, CB และ PA หลังจาก 3 วันเป็นต้นไป กล่าวสรุปได้ว่าไก่พันธุ์ลูกผสมมีประโยชน์ในด้านลักษณะซากดีกว่าพันธุ์แท้ที่มีขนาดตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับไก่เนื้อเชิงพาณิชย์ ด้านคุณภาพเนื้อ เช่น องค์ประกอบทางเคมี สีของเนื้อและ ค่าความหืนของเนื้อไก่ลูกผสมไม่มีความแต่ต่างจากไก่พันธุ์แท้แต่มีคุณภาพเนื้อที่ดีกว่าไก่เนื้อเชิงพาณิชย์ | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | คุณภาพซาก องค์ประกอบเคมี และค่าเสถียรภาพออกซิเดชั่นของเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมืองของไทยกับไก่ไข่ ไก่พื้นเมืองไทย ไก่ไข่ และไก่กระทง | en_US |
dc.title.alternative | Carcass Quality, Chemical Composition, and Oxidative Stability of Meat of Crossbreds (Thai Indigenous Chickens Layer Breed), Thai Indigenous, Layer, and Broiler Chickens | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 34 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50200 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50200 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.