Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64551
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจันทรา อุปาลีen_US
dc.contributor.authorอรอุมา เรืองวงษ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:13Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:13Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00139_C01084.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64551-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการคัดเลือกแบคทีเรียจากดินบริเวณรอบ ๆ ราก ของเมลอนที่ไม่เป็นโรค จากพื้นที่ปลูกเมลอน ในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน และศูนย์วิจัยสาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำมาควบคุมเชื้อรา Didymella bryoniae สาเหตุโรคต้นแตกยางไหลของเมลอน สามารถแยกเชื้อแบคทีเรียรอบรากได้ทั้งหมด 149 ไอโซเลท เมื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการเป็นปฏิปักษ์กับเชื้อรา D. bryoniae ด้วยวิธี dual culture พบว่ามีเชื้อแบคทีเรียรอบรากที่สามารถยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคได้ จำนวน 9 ไอโซเลท โดยไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพการยับยั้งสูง จำนวน 2 ไอโซเลท ได้แก่ ไอโซเลท S93 และ S138 ซึ่งมีร้อยละของการยับยั้งเท่ากับ 81.20 และ 82.40 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่านํ้ากรองของไอโซเลท S93 ทำให้การงอกของเชื้อราสาเหตุโรคมีความผิดปกติ โดยจะทำให้ germ tube มีลักษณะบวมพอง และไอโซเลท S138 ทำให้มีการชะลอการงอกของสปอร์ได้ เมื่อนำเชื้อ แบคทีเรียรอบรากทั้ง 2 ไอโซเลท มาจัดจำแนกชนิดโดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาเบื้องต้น และการเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA พบว่า ไอโซเลท S93 เป็นแกรมบวก เซลล์มีรูปร่างเป็นแท่ง และมีลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA เหมือนกับเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis ถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนไอโซเลท S138 เป็นแกรมลบ เซลล์มีรูปร่างเป็นแท่งเล็ก ๆ และมีลำดับนิวคลีโอไทด์เหมือนกับเชื้อแบคทีเรีย Enterobacter asburiae ถึง 99 เปอร์เซ็นต์en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการคัดเลือกไรโซแบคทีเรียที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรคต้นแตกยางไหลของเมลอนen_US
dc.title.alternativeSelection of Rhizobacteria Against of Gummy Stem Blight Pathogen of Melonen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume34en_US
article.stream.affiliationsภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.