Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64548
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสมฤทัย ใจเย็นen_US
dc.contributor.authorจิราพร กุลสารินen_US
dc.contributor.authorไสว บูรณพานิชพันธุ์en_US
dc.contributor.authorกนกวรรณ คำยอดใจen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:13Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:13Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00139_C01087.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64548-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractชันโรง Tetragonula laeviceps species complex เป็นแมลงที่มีประโยชน์ต่อการเกษตรและระบบนิเวศ ช่วยผสมเกสรดอกไม้หลายชนิดอย่างมีประสิทธิภาพและผลิตน้ำผึ้งชันโรงที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและขายได้ราคาดี อย่างไรก็ตาม การเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งชันโรงในรังไม้มาตรฐานที่ใช้เลี้ยงทั่วไปยังทำได้ยำก เนื่องจากโครงสร้ำงของถ้วยเก็บน้ำผึ้งและถ้วยเก็บเกสร กลุ่มไข่และกลุ่มตัวอ่อนอยู่ทับซ้อนกัน ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาผลของรูปแบบรังไม้ประกอบต่อการจัดวางถ้วยเก็บอาหารของชันโรงประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกศึกษารูปแบบรังที่เหมาะสมและง่ายต่อการเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งชันโรง ด้วยรังไม้ประกอบที่มีรูปแบบรังที่แตกต่างกัน 4 แบบ 1. รังไม้ประกอบขนาดมาตรฐาน (SH) 2. รังไม้ประกอบขนาดมาตรฐานภายในวางไม้ไขว้เป็นมุมฉาก (SCH) 3. รังไม้ประกอบขนาดมาตรฐานภายในวางไม้ยาวคู่ขนาน (SPH) และ 4. รังไม้ประกอบยาว (LH) ทำการแยกรังชันโรงใส่ในรังไม้แต่ละรูปแบบ พบว่ารังไม้ SCH และรังไม้ SPH มีการสร้างกลุ่มไข่และตัวอ่อนแยกจากกลุ่มถ้วยเก็บอาหารอย่างชัดเจน ส่วนที่ 2 ศึกษารูปแบบรังไม้ประกอบที่มีผลต่อการจัดเรียงถ้วยเก็บอาหารของชันโรงในรังไม้ประกอบที่มีรูปแบบรังที่แตกต่างกัน 5 รูปแบบ คือ 1. รังไม้ประกอบขนาดมาตรฐาน (SH) 2. รังไม้ประกอบขนาดมาตรฐานที่วางไม้ไขว้มุมฉากและมีตาข่ายอยู่ด้านบนไม้ (SCNH) 3. รังไม้ประกอบเล็กสองชั้นเชื่อมต่อกับรังไม้ประกอบยาวด้านหน้า (LCDH) 4. รังไม้ประกอบเล็กสองชั้นเชื่อมต่อกับรังไม้ประกอบยาวที่แบ่งเป็นสามช่อง (TLCDH) และ 5. รังไม้ประกอบสองชั้น (DH) ทำการแยกรังชันโรงโดยนำกลุ่มไข่และกลุ่มตัวอ่อน และถ้วยเก็บอาหารที่ปริมาณเท่ากันใส่ในรังไม้ประกอบแต่ละรูปแบบ สังเกตและบันทึกผลการพัฒนาของโครงสร้างรังชันโรงโดยชั่งน้ำหนักทุกสัปดาห์และถ่ายภาพทุกเดือน พบว่ามีการจัดวางตัวของกลุ่มไข่และกลุ่มตัวอ่อน รวมทั้งถ้วยเก็บอาหารทับซ้อนกันในรังไม้สี่รูปแบบ (SH, LCDH, TLCDH และ DH) แต่สำหรับรังไม้ SCNH มีการจัดวางตัวของกลุ่มไข่และกลุ่มตัวอ่อนรวมทั้งถ้วยเก็บอาหารแยกออกจากกันอย่างชัดเจน โดยกลุ่มไข่และกลุ่มตัวอ่อนจัดเรียงอยู่ด้านบนตาข่าย ส่วนถ้วยเก็บอาหารอยู่ด้านล่างของตาข่าย และมีน้ำหนักสุดท้ายของรังชันโรงสูงสุดเท่ากับ 1.13 กิโลกรัม ขณะที่รังแบบ SH, LCDH, TLCDH และ DH มีน้ำหนักของรังชันโรงเท่ากับ 0.66, 0.66, 0.69 และ 0.20 กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนที่ 3 ศึกษาหาขนาดที่เหมาะสมของรังไม้ SCNH พบว่ารังไม้ SCNH ขนาด 21x30x20 เซนติเมตร มีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากให้น้ำหนักของรังชันโรงสูงสุดเท่ากับ 1.20 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับรังไม้ขนาดอื่นen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleผลของรูปแบบรังไม้ประกอบต่อการจัดวางถ้วยอาหารของชันโรง Tetragonula laeviceps Species Complexen_US
dc.title.alternativeEffects of Hive Patterns on Storage Pot Arrangement of Stingless Bees, Tetragonula laeviceps Species Complexen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume34en_US
article.stream.affiliationsภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.