Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64545
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุกานดา วิชิตพันธุ์en_US
dc.contributor.authorสุภัทรษร ทับศรีen_US
dc.contributor.authorคณิต วิชิตพันธุ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:12Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:12Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00139_C01086.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64545-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาคุณลักษณะเอนไซม์ไคติเนสและโปรติเอสที่ผลิตจากราที่มีศักยภาพในการทำลายเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู (pink cassava mealybug หรือ Phenacoccus manihoti) ก่อนหน้านี้ พบว่าเอนไซม์ไคติเนสที่ผลิตจาก Aspergillus flavus ไอโซเลท L21A และ โปรติเอสที่ผลิตจาก Beauveria bassiana ไอโซเลท LARTC2 มีศักยภาพนำไปใช้ในการทำลายเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ซึ่งเอนไซม์ทั้งสองชนิดนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการทำลายเพลี้ยแป้งโดยเอนไซม์จะเข้าย่อยทำลายผนังลำตัวของเพลี้ยแป้งในขั้นตอนแรก จากนั้นราจะเจริญโดยใช้ของเหลวในตัวแมลงเป็นอาหารและทำลายเพลี้ยแป้งในที่สุด การศึกษาครั้งนี้ได้ทดลองนำสารละลายเอนไซม์ไคติเนสและโปรติเอสที่ผลิตจากราทั้งสองชนิดมาใช้ร่วมกับสารแขวนลอยสปอร์รา B. bassiana ไอโซเลท LARTC2 ที่ความเข้มข้น 1 x 107 สปอร์ต่อมิลลิตร เพื่อเพิ่มความรุนแรงในการทำลายตัวอ่อนวัยที่ 3 ของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู ในระดับห้องปฏิบัติการ ผลการทดลองพบว่าการใช้สารละลายเอนไซม์ไคติเนสและโปรติเอส ร่วมกับสารแขวนลอยสปอร์รามีเปอร์เซ็นต์การตาย (percent mortality) ในวันที่ 3 เท่ากับ 65.56 ± 4.55% และมีค่า LT50 เท่ากับ 2.52 วัน ซึ่งเปอร์เซ็นต์การตายนี้มีค่าสูงกว่าการใช้เฉพาะสารละลายเอนไซม์หรือสารแขวนลอยสปอร์ราเพียงอย่างเดียว จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพบนเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู และการเจริญของรา B. bassiana ไอโซเลท LARTC2 หลังการพ่นด้วยสารละลายเอนไซม์ไคติเนสและ โปรติเอสร่วมกับสารแขวนลอยสปอร์ราเป็นเวลา 3 วัน พบว่าแมลงถูกทำลาย และมีเส้นใยราปกคลุมตัวเพลี้ยแป้ง ภายหลังจากการนำเพลี้ยแป้งไปบ่ม 3 วัน ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส พบว่าเส้นใยราหนาแน่นขึ้นและสปอร์ของราสีขาวแทงทะลุออกมาและปกคลุมทั่วผนังลำตัวของเพลี้ยแป้ง สรุปได้ว่าสารละลายเอนไซม์ไคติเนสและโปรติเอสช่วยเพิ่มความรุนแรงของราในการเข้าทำลายเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleการเพิ่มศักยภาพการยับยั้งเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพูด้วยสารสกัดหยาบไคติเนสและโปรติเอสร่วมกับเชื้อรา Beauveria bassianaen_US
dc.title.alternativeIncreasing Exibitor Potential Against Pink Cassava Mealybug Using Crude Extract of Chitinase and Protease with Beauveria bassianaen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume34en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพและศูนย์วิจัยการหมักเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ. ขอนแก่น 40002en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.