Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64541
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิรมล ลีen_US
dc.contributor.authorรุจ ศิริสัญลักษณ์en_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:12Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:12Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00138_C01077.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64541-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการปลูกกุหลาบเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรในหมู่บ้าน บวกเต๋ย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับศักยภาพการผลิตกุหลาบเชิงพาณิชย์ของเกษตรกร 3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการผลิตกุหลาบเชิงพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบจำนวน 80 ราย ในหมู่บ้านบวกเต๋ย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลที่ให้ตอบตามความคิดเห็นตามมาตรวัด 5 ระดับของ Likert โดยใช้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก และทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษาสภาพการปลูกกุหลาบเชิงพาณิชย์ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกกุหลาบเชิงพาณิชย์โดยเฉลี่ย 8.74 ปี ใช้ต้นทุนในการปลูกกุหลาบเฉลี่ย 87,537.5 บาทต่อเกษตรกร 1 ราย เกษตรกรปลูกกุหลาบโดยเฉลี่ยรายละ 11,532 ต้น ในการทำสวนกุหลาบ เกษตรกรร้อยละ 57.50 ใช้น้ำจากลำห้วย เกษตรกรมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบเชิงพาณิชย์อยู่ในระดับต่ำและปานกลางเป็นจำนวนร้อยละเท่ากัน คือร้อยละ 47.50 และเกษตรกรจำนวนร้อยละ 5.00 มีศักยภาพในการผลิตอยู่ในระดับสูง จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับศักยภาพในการผลิตกุหลาบเชิงพาณิชย์ของเกษตรกร ได้แก่ การพบปะเจ้าหน้าที่ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และประสบการณ์ในการปลูกกุหลาบ เกษตรกรมีปัญหาอุปสรรคในการปลูกกุหลาบเชิงพาณิชย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประเด็นปัญหาที่สำคัญ คือ การขาดแคลนน้ำ โรคและแมลงรบกวน ต้นทุนการผลิตสูง และสารเคมีราคาแพง ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ ให้มีการช่วยเหลือด้านระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการลดต้นทุนการผลิต โดยการเสนอให้ภาครัฐช่วยดูแลเรื่องราคาปุ๋ยและสารเคมีในการปลูกกุหลาบและต้องการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยแนะนำให้ความรู้ แก้ไขปัญหาเรื่องโรคและแมลงen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleศักยภาพการผลิตกุหลาบเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรบ้านบวกเต๋ย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeCommercial Rose Production Potential of Farmers in Ban Buak Toey, Mae Rim District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume34en_US
article.stream.affiliationsภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50200en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.