Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64540
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนัดติยา ประกอบแสงen_US
dc.contributor.authorวันทนีย์ พลวิเศษen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:12Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:12Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00138_C01079.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64540-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactin; PRL) และ เอสตราไดโอล (estradiol; E2) ในไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำเพศเมียที่แสดงพฤติกรรมการฟักไข่ที่ยืดเยื้อ โดยใช้ไก่ทดลองเพศเมีย 18 ตัว เพศผู้ 2 ตัว เลี้ยงในโรงเรือนแบบปล่อยพื้น ภายใต้ช่วงแสงธรรมชาติ แบ่งการทดลองเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว (เพศเมีย 9: เพศผู้ 1) กลุ่มที่ 1 ปล่อยให้ไก่วางไข่และฟักไข่ตามธรรมชาติ เมื่อไก่ฟักไข่จนถึงวันที่ 15 ของการฟักไข่ นำไข่ชุดเดิมออกและแทนที่ด้วยไข่ชุดใหม่จำนวน 10 ฟอง เพื่อให้ไก่ฟักไข่ต่อไปจนกว่าไก่จะหยุดฟักไข่และทิ้งรัง (ES) กลุ่มที่ 2 ปล่อยให้ไก่วางไข่และฟักไข่ตามธรรมชาติ จนกระทั่งลูกไก่ฟักออกจากไข่ แยกลูกไก่ออกและนำไข่ชุดใหม่จำนวน 10 ฟอง เข้าไปแทนที่ลูกไก่ ให้แม่ไก่ฟักไข่ต่อไป จนกระทั่งลูกไก่ชุดใหม่ฟักออกมา แล้วนำลูกไก่ออกและแทนที่ด้วยไข่ชุดใหม่ จนกว่าแม่ไก่จะเลิกฟักไข่และทิ้งรังไป (CS) วิเคราะห์ระดับฮอร์โมน PRL และ E2 ในพลาสมา โดยใช้วิธี enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) ผลการศึกษาพบว่าไก่พื้นเมืองกลุ่ม CS แสดงพฤติกรรมการฟักไข่ที่ยืดเยื้อ (65.8 ± 6.50 วัน) มากกว่าไก่พื้นเมืองกลุ่ม ES (51.6 ± 4.39 วัน) แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ส่วนระดับ PRL ของไก่กลุ่ม ES เพิ่มขึ้นในระยะฟักไข่ (364.38 ± 45.26 ng/ml) และลดลงอย่างต่อเนื่อง ตามระยะเวลาในการฟักไข่ที่ยืดเยื้อ และลดต่ำลงเท่ากับช่วงที่แม่ไก่ไม่ให้ไข่ (23.50 ± 8.7 ng/ml) ก่อนแม่ไก่ทิ้งรังไป (P<0.05) ส่วน E2 พบว่ามีระดับสูงสุดในช่วงที่ไก่กำลังออกไข่ เริ่มลดลงเมื่อไก่ฟักไข่ และมีระดับคงที่ไปตลอดช่วงเวลาที่ไก่ฟักไข่ยืดเยื้อ (P<0.05) ในไก่กลุ่ม CS ระดับ PRL เพิ่มสูงขึ้นในระยะฟักไข่และลดลงอย่างรวดเร็วในวันที่ 21 ของการฟักไข่ หรือวันที่ลูกไก่ฟักออก และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อแยกลูกไก่ออกไปและแทนที่ด้วยไข่ฟองใหม่ และมีแนวโน้มลดลงตามวงรอบการฟักไข่ที่เพิ่มขึ้น (P>0.05) แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับ E2 ในแต่ละวงรอบของการฟักไข่ (P>0.05)en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.titleแบบแผนการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนโปรแลคตินและเอสตราไดโอลในไก่พื้นเมือง ที่แสดงพฤติกรรมการฟักไข่ที่ยืดเยื้อen_US
dc.title.alternativeChanges in Patterns of Prolactin and Estradiol in Native Chicken Expressed Prolonged Incubation Behavioren_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารเกษตรen_US
article.volume34en_US
article.stream.affiliationsสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จ.มหาสารคาม 44000en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.