Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64536
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ทิมทอง ดรุณสนธยา | en_US |
dc.contributor.author | อาภัสนันท์ สุดเจริญ | en_US |
dc.contributor.author | วิทยา จินดาหลวง | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-05-07T10:02:12Z | - |
dc.date.available | 2019-05-07T10:02:12Z | - |
dc.date.issued | 2561 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0842 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00138_C01072.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64536 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) | en_US |
dc.description.abstract | การตรึงและการปลดปล่อยแอมโมเนียมเป็นกระบวนการสำคัญที่ส่งผลต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุไนโตรเจนในดิน โดยเฉพาะดินที่มีแร่ดินเหนียวประเภท 2:1 เป็นองค์ประกอบ เนื่องจากแร่ดินเหนียวดังกล่าวสามารถตรึงแอมโมเนียมไว้ภายในหลืบของโครงสร้างได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางดินที่ส่งผลต่อการตรึงและการปลดปล่อยแอมโมเนียมในดินที่มีแร่ดินเหนียวประเภท 2:1 เป็นองค์ประกอบ ชุดดินตัวแทนสำหรับการศึกษา ได้แก่ ชุดดินตาคลี ชุดดินบ้านหมี่ และชุดดินช่องแค เก็บตัวอย่างดินจากชั้นไถพรวนมาวิเคราะห์ปริมาณแอมโมเนียมรูปที่แลกเปลี่ยนได้และรูปที่แลกเปลี่ยนไม่ได้ ศึกษาการตรึงและการปลดปล่อยแอมโมเนียมในดินโดยการเติม 1,000 มิลลิกรัม NH4+/กิโลกรัมดิน และบ่มตัวอย่างดินที่ระดับความจุความชันสนามเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ชุดดินที่ใช้ศึกษาทั้งหมดมีปริมาณแอมโมเนียมรูปที่แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับต่ำมาก (0.01-3.95 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และดินมีปริมาณแอมโมเนียมรูปที่แลกเปลี่ยนไม่ได้อยู่ในพิสัย 71.4-119.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ปริมาณการตรึงแอมโมเนียมในดินผันแปรตั้งแต่ 11-90 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และการปลดปล่อยแอมโมเนียมผันแปรตั้งแต่ 211-703 มิลลิกรัม/กิโลกรัม การปลดปล่อยแอมโมเนียมสามารถอธิบายได้ดีด้วยสมการ parabolic (R2 = 0.85-0.97) และ Elovich (R2 = 0.93-0.99) แสดงให้เห็นว่าลักษณะการปลดปล่อยแอมโมเนียมในดินที่ทาการศึกษาเกิดจากกระบวนการแพร่ และอาจเกิดการปลดปล่อยจากผิวหน้าที่ไม่สม่ำเสมอจากพื้นผิวภายนอกและพื้นที่ผิวภายในของแร่ดินเหนียวประเภท 2:1 ตลอดจนพื้นที่ผิวดูดซับของอินทรียวัตถุ ปัจจัยทางดินที่ส่งผลต่อลักษณะการดูดซับ การตรึงและการปลดปล่อยแอมโมเนียมในดิน ได้แก่ ปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมที่สกัดได้ และปริมาณของอินทรียวัตถุในดิน โดยปริมาณการดูดซับแอมโมเนียมมีแนวโน้มลดลงตามปริมาณที่เพิ่มขึ้นของแคลเซียมที่สกัดได้ และการตรึงแอมโมเนียมมีแนวโน้มลดลงตามปริมาณที่เพิ่มขึ้นของแมกนีเซียมที่สกัดได้และปริมาณอินทรียวัตถุ ส่วนปริมาณการปลดปล่อยแอมโมเนียมจะแปรผกผันกับปริมาณการตรึงแอมโมเนียม | en_US |
dc.language | Tha | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.title | การตรึงและการปลดปล่อยแอมโมเนียมในดินที่มีแร่ดินเหนียวประเภท 2:1 เป็นองค์ประกอบ | en_US |
dc.title.alternative | Fixation and Release of Ammonium (NH4+) in Soils Containing 2:1 Clay Minerals | en_US |
dc.type | บทความวารสาร | en_US |
article.title.sourcetitle | วารสารเกษตร | en_US |
article.volume | 34 | en_US |
article.stream.affiliations | ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10900 | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.